หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการปกครองส่วนท้องถิ่นและการปฏิบัติตนตามหลักสัปปุริสธรรมของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 2) เพื่อศึกษาระดับหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตนตามหลักสัปปุริสธรรมกับการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม 4) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและการปฏิบัติตนตามหลักสัปปุริสธรรม อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 85,794 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบ Krejcie and Morgan จึงได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 382 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ บุคลากร และประชาชน อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติไค-สแควร์ ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิควิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท
ผลการวิจัยพบว่า
1) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นและการปฏิบัติตนตามหลัก สัปปุริสธรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
2) ประชาชนมีความคิดเห็นต่อหลักธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน
3) ความสัมพันธ์ระหว่างหลักธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตนตามหลักสัปปุริสธรรมกับการปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
4) แนวทางการในการส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นและการปฏิบัติตนตามหลัก สัปปุริสธรรม ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม พบว่า บุคลากรต้องมีการบูรณาการหลักธรรมเพื่อใช้ในการปฏิบัติงาน เพื่อให้เกิดผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กิตติยวดี พาณิชย์. (2552). รูปแบบการบริหารเทศบาลตามหลักธรรมาภิบาล : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
กมลพร กัลยาณมิตร. (2554). ธรรมาภิบาลในการปกครองท้องถิ่น ขององค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนดุสิต, 7(1), 207.
นายมานะ อิ่มอุดม. (2558). การบริหารตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลนคร พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสยาม. กรุงเทพฯ.
ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
ปราณีต ม่วงนวล. (2558). หลักธรรมาภิบาลในมิติของความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองภาคประชาชน กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. บริษัท เอส.อาร์ พริ้นติ้ง แมส โปรดักส์ จำกัด.
พระศตวรรษ กิตฺติปาโล และ จักรวาล สุขไมตรี. (2562). การประยุกต์ใช้หลักสัปปุริสธรรมในการส่งเสริมการปกครองของพระสังฆาธิการในเขตจังหวัดนนทบุรี. บัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ วิทยาลัยสงฆ์นครสวรรค์, 7(2), 313-314.
ราชกิจจานุเบกษา. (2559). คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 59/2559 เรื่องประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 8 และการปรับปรุงการบริหารงานบุคคลในบางหน่วยงานของรัฐ เล่ม 133 ตอนพิเศษ 216 ง. สืบค้นเมื่อ 8 กันยายน 2563, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF /2559/E/002/4.PDF
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2544). แผนปฏิรูประบบบริหารภาครัฐ พ.ศ. 2544. กองกลางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
สำนักทะเบียนอำเภอกันทรวิชัย. (2563). สถิติประชากรจากทะเบียนบ้าน ตรวจสอบข้อมูลแยกพื้นที่ ระดับนักทะเบียน.
สิริกาญจน์ เอี่ยมอาจหาญ. (2554). การนำนโยบายธรรมาภิบาลไปปฏิบัติในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น : วิเคราะห์กรณี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.
อาภิสญา กุลบุญญา และ นลินี ทองประเสริฐ. (2559). หลักธรรมาภิบาลกับมาตรฐานการปฏิบัติราชการ ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 1(1), 298.