ส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนศิลปะป้องกันตัวเทควันโดในจังหวัดลำปาง

Main Article Content

วิษณุ เทพสุรินทร์
ธนกร สิริสุคันธา

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นส่วนประสมทางการตลาดบริการและการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนศิลปะป้องกันตัวเทควันโดในจังหวัดลำปาง 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดบริการที่มีต่อการตัดสินใจของผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนศิลปะป้องกันตัวเทควันโดในจังหวัดลำปางประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้ปกครองที่ส่งบุตรหลานเรียนศิลปะป้องกันตัวเทควันโดในจังหวัดลำปาง จำนวน180 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมานวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter


ผลการวิจัยพบว่า1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับส่วนประสมทางการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าด้านลักษณะทางกายภาพ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือด้านบุคคล ด้านราคา ด้านกระบวนการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์และด้านการส่งเสริมการตลาดตามลำดับ 2) ผลการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter พบว่าด้านกระบวนการให้บริการ ด้านลักษณะทางกายภาพ ด้านราคาและด้านช่องทางการจัดจำหน่าย มีอิทธิพลต่อผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนศิลปะป้องกันตัวเทควันโดในจังหวัดลำปางที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 ด้านการส่งเสริมการตลาดด้านผลิตภัณฑ์และด้านบุคคลไม่มีอิทธิพลต่อผู้ปกครองในการส่งบุตรหลานเรียนศิลปะป้องกันตัวเทควันโดในจังหวัดลำปางที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพรรณ สุขฤทธ์. (2557). ส่วนประสมการตลาดบริการและพฤติกรรมการใช้บริการร้านอาหารญี่ปุ่น ย่าน Community Mall ของผู้บริโภคในกรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ. กรุงเทพฯ.

กิตติพงศ์ มงคลการุณย์, พีระพงษ์ สิทธิอมร และ ปรีชา สภาสุวรรณกุล. (2556). รูปแบบการบริหารศูนย์ฝึกกีฬาเทควันโดที่มีประสิทธิผล. วารสารจันทรเกษมสาร, 19(37), 147-156.

ชิณโสณ์ วิสิฐนิธิกิจา, สาวิตตรี จบศรี และ ยุวเรศ มาซอรี. (2560). ปัจจัยทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกบริษัทนาเที่ยวจีนในการมาท่องเที่ยวในประเทศไทย. ใน บูรณาการงานวิจัยสู่การพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืน (น. 1787-1797). พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม.

บุญส่ง ยอดวงศ์. (2547). คู่มือการสอนวิชาเทควันโดในวิทยาลัยพลศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

ไพรพนา ศรีเสน. (2544). ความคาดหวังของผู้รับบริการต่อคุณภาพบริการในงานผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศิริราช คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒน บริหารศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และ คณะ. (2546). การบริหารการตลาด. กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์ ซีเอ็ดยูเคชั่น, บมจ.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, ปริญ ลักษิตานนท์ และ ศุภรเสรีรัตน์. (2552). การบริหารตลาดยุคใหม่. กรุงเทพฯ: พัฒนาศึกษา.

สมวงศ์ พงศ์สถาพร. (2547). การตลาดบริการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ยูเรก้า.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). กลยุทธ์การตลาด การวางแผนการตลาด. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

วีระพงษ์ เฉลิมจิระรัตน์. (2539). คุณภาพในการบริการสมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย - ญี่ปุ่น). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ประชาชน.

อรพรรณ หมั่นเขตกิจ และ ลัดดาวัลย์ สำราญ. (2560). ปัจจัยที่มีอิทธิพลของส่วนประสมทางการตลาดและปัจจัยทางสังคมที่มีต่อกระบวนการตัดสินใจเลือกใช้บริการสถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุพิบูล, 5(2), 271-284.

Armstrong, G. & Kotler. (2009). Marketing, an introduction. 9thed. New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Etzel, M. J., Walker, B. J., & Stanton, W. J. (2007). Marketing. 14thed. Boston: McGraw – Hill.

Kotler. (1997). Marketing management: Analysis, planning implementation and control. 9thed. Parsippany, New Jersey: Simmon & Schuster.

Kotler, & Keller, K. L. (2012). Marketing management. 14thed. Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic,M (Ed.), Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.

XieKangle. (2013). Behavior and marketing mix affecting the decision of Chinese tourists who choose cultural tourism in Bangkok. (Master’s Thesis). Nakhon Pathom Rajabhat University. Nakhon Pathom.