การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง 2) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองตามหลักสาราณียธรรม 3) เพื่อเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมือง ตามปัจจัยส่วนบุคคลและตามหลักสาราณียธรรมและ 4) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 186 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยการทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1) ระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและระดับการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองตามหลักสาราณียธรรมของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2) นิสิตที่มีเพศ อายุ ชั้นปี สาขาวิชา และเกรดเฉลี่ยต่างกัน มีส่วนร่มในกิจกรรมทางการเมือง โดยรวมไม่แตกต่างกัน ส่วนนิสิตที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองตามหลักสาราณียธรรมโดยรวมต่างกัน มีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองแตกต่างกัน
3) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองของนิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น พบว่า ควรจัดกิจกรรมรณรงค์ให้นิสิตไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง ให้หลักสูตรจัดกิจกรรมเสวนาวิชาการเกี่ยวกับการเลือกตั้ง ให้นิสิตรู้จักวิเคราะห์สืบค้นข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทต่าง ๆ ฝึกให้นิสิตเขียนบทความวิชาการ และหาช่องทางในการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารหรืองานประชุมวิชาการในระดับชาติ และรู้จักใช้เหตุผลในการบูรณาการกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักงานประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
บุษบา เขียวดี.(2552). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษา : ศึกษากรณี นักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. อุบลราชธานี.
ปัญญา คล้ายเดช. (2560). ระเบียบวิจัยทางรัฐศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: หจก. ขอนแก่นการพิมพ์.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2551). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพฯ: บริษัท เอส. อาร์. พริ้นติ้งแมสโปรดักส์จำกัด.
พระมหาศุภกิจ สุดสังข์. (2561). หลักธรรมที่มีผลต่อความขัดแย้งทางการเมืองของประชาชนในเขตอำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์. ฉะเชิงเทรา.
สำราญ วิเศษ. (2555). กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะศิลปะศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 2(1), 5-12.
สมพร เฟื่องจันทร์. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของนิสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. วารสารสารสนเทศ, 14(2), 97-106.
สุวิมล แซ่กอง. (2561). การมีส่วนร่วมของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาในกิจกรรมส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 13(1), 61-71.
นิเทศ สนั่นนารี. (2563). ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตขอนแก่น. สัมภาษณ์. 27 พฤศจิกายน 2563.
ผู้จัดการออนไลน์. (2558). พระ มจร.ขอนแก่นจี้ยุบคณะกก.ปฏิรูปพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563, จาก https://mgronline.com/local/detail/9580 000025345.
________. (2558). แยกย่อย เครือข่ายสงฆ์ มาจากไหน? รุกหนัก จี้รัฐ-สปช.ยุบคณะปฏิรูปฯพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2563, จาก https://mgronline.com /politics/detail/9580000024595.
สำนักข่าว The Buddh. (2562). ‘ปิยบุตร’ เทศน์กัณฑ์ ‘อริยสัจ 4’ ชี้รธน.60 คือ’สมุทัย’ทำคนไทยทุกข์. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2563, จาก http://thebuddh.com/?p=43619.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2561). สรุปภารกิจตรวจเยี่ยมวัดจังหวัดขอนแก่น ของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ). สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2563, จาก http://old.onab.go.th/news/สรุปภารกิจตรวจเยี่ยมวัด/.