แนวโน้มสถานการณ์และทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืน เชิงยุทธ์ศาสตร์สำหรับภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
เป้าหมายการพัฒนาแห่งสหัสวรรษเป็นกรอบทิศทางสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืนที่นานาประเทศให้การยอมรับ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาแนวโน้มสถานการณ์การพัฒนาและวิเคราะห์ประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วนตามกรอบเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน และเพื่อเสนอทิศทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเชิงยุทธศาสตร์ในพื้นที่ภาคเหนือ มีการใช้วิธีการเดลฟายในการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากผู้เชี่ยวชาญภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และสถาบันการศึกษาของภาคเหนือจำนวน 60 คน และดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า แนวโน้มสถานการณ์ที่มีผู้เห็นด้วยสูงสุด ได้แก่ สัดส่วนประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น และค่าฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM) ที่สูงต่อเนื่อง รองลงมา คือ การเป็นแหล่งผลิตข้าวและอาหารแต่แนวโน้มการถือครองที่ดินลดลง และประสบภัยแล้งซ้ำซาก ตามลำดับ อย่างไรก็ตามกลับพบว่าประเด็นพัฒนาและสำคัญเร่งด่วน ได้แก่ การถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรลดลง ระบบเกษตรที่ไม่เอื้อต่อความมั่นคงทางอาหาร ระบบการศึกษาที่ไม่เท่าเทียมและไม่ตอบสนองท้องถิ่น ขาดการพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชนบนฐานภูมินิเวศวัฒนธรรมและทรัพยากรธรรมชาติ และค่าฝุ่น PM ที่สูงต่อเนื่อง ส่วนทิศทางการพัฒนาเชิงยุทธศาสตร์ที่สอดคล้องกับประเด็นพัฒนาสำคัญและเร่งด่วน ได้แก่ การจัดการการใช้ประโยชน์ที่ดิน การสร้างนวัตกรรมความมั่นคงทางอาหารและเกษตรกรรมยั่งยืน การจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้และสร้างโอกาสทางอาชีพ การสนับสนุนการจัดการเศรษฐกิจและสวัสดิการโดยชุมชน และการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการไฟป่าและฝุ่น PM
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2561). รายงานยุทธศาสตร์/มาตรการแก้ไขปัญหาไฟป่า ปี 2561. สืบค้นจาก http://www.dnp.go.th/forestfire/web/frame/2561/Forestfire2561.pdf
ขนิษฐา ชัยรัตนาวรรณ, และ ณัฐพศุตม์ ภัทธิราสินสิริ. (2563). แหล่งกำเนิด ผลกระทบและแนวทางการจัดการฝุ่นละออง PM 2.5 บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย. วารสารสมาคมวิจัย, 25(1), 461-474.
ดำรงค์ วัฒนา. (2553). แนวคิดและแนวทางในการจัดทำยุทธศาสตร์. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 2(2), 1-34.
นงนภัส คู่วรัญญู เที่ยงกมล. (2551). สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา เล่ม 1. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นภาภรณ์ บัวแก้ว, และ ไขยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2561). รูปแบบการพัฒนาอาชีพพืชผักอินทรีย์ของครอบครัวไทยเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 1721-1738.
นวรัตน์ นิธิชัยอนันต์. (2559). ศักยภาพเศรษฐกิจชุมชนชายแดนไทย-กัมพูชา: กรณีศึกษาชุมชนบ้านโจรก ตำบลด่าน อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(พิเศษ), 66-75.
ประชาไท. (2561). นักเศรษฐศาสตร์ชี้ไทยอาจเหลื่อมล้ำมากกว่าในรายงาน Global Wealth Report. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2018/12/79991
พรนค์พิเชฐ แห่งหน. (2560). การจัดการศึกษาเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี. Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 10(1), 919-935.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2556). รายงานผลเบื้องต้นสำมะโนการเกษตร พ.ศ.2556. กรุงเทพฯ: บางกอกบล๊อก.
สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. (2562). แผนพัฒนาภาคเหนือ พ.ศ.2560-2565 ฉบับทบทวน. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?nid=8533
สุพรรณี ไชยอำพร. (2560). ความมั่นคงทางอาหาร: สิ่งบ่งชี้ต่างวัฒนธรรมในสังคมไทย. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์, 57(1), 200-223.
สยาม อรุณศรีมรกต, และ ยงยุทธ วัชรดุลย์. (2559). เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน 17 ประการของสหประชาชาติเพื่อโลกอนาคต. วารสารวิจัยสหวิทยาการไทย, 11(3), 1-7.
Sachs, J.D. (2012). From millennium development goals to sustainable development goals. The Lancet, 379(9832), 2206–2211.
Renzi, A.B., & Freitas, S. (2015). The Delphi method for future construction. Procedia Manufacturing, 3(2015), 5785-5791.
United Nations. (2016). The sustainable development goals report. New York, NY: United Nations.