การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

Main Article Content

ทวนธง ครุฑจ้อน
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ
อรสา อนันต์
อภิรดี จิโรภาส

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต และเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต โดยการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมุ่งสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562


ผลการศึกษาพบว่า ภาพรวมของการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ผู้รับบริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (M = 4.34, S.D. = 0.59, P = 86.8) และเมื่อพิจารณาเป็นรายงานบริการ ดังนี้ (1) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องานห้องสมุดเฉลิมพระเกียรติ 50 พรรษา ศูนย์รวมใจออสเตรีย-ภูเก็ตของกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมอยู่ในระดับมาก (M = 4.40, S.D. = 0.52, P = 88.0) (2) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องาน Phuket care “สุขภาพพอเพียงกับโรงพยาบาลหมื่นเตียงในภูเก็ต” ของกองสาธารณสุขอยู่ในระดับมาก (M = 4.29, S.D. = 0.58, P = 85.8) (3) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องานโรงพยาบาลองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตของกองสาธารณสุขอยู่ในระดับมาก (M = 4.37, S.D. = 0.57, P = 87.4) และ (4) ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่องานศูนย์ช่วยเหลือนักเที่ยวจังหวัดภูเก็ตของกองการท่องเที่ยวและกีฬาอยู่ในระดับมาก (M = 4.29, S.D. = 0.73, P = 85.8) สำหรับประเด็นการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ตที่ผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากที่สุดคือ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ (M = 4.43, S.D. = 0.64, P = 88.6)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สังขกร และคณะ. (2555). โครงการสำรวจคุณภาพความพึงพอใจงานบริการสาธารณะตามยุทธศาสตร์การพัฒนาขององค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน ประจำปี 2555. เชียงใหม่:สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เฉลิมพร อภิชนาพงศ์. (2554). ความพึงพอใจของผู้รับบริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบางบัวทอง ประจำปีงบประมาณ 2553. วารสารสุทธิปริทัศน์, 25(77), 63-86.

ชนะดา วีระพันธ์. (2555). ความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านเก่า อำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี. ปัญหาพิเศษมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ. ภาครัฐและภาคเอกชนวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

นราธิป ศรีราม. (2557). แนวคิดเกี่ยวกับการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น. ในเอกสารการสอนชุดวิชาการจัดบริการสาธารณะของท้องถิ่น หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญชม ศรีสะอาด. (2554). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิจิตร วิชัยสาร และคณะ. (2558). การสำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะของเทศบาลเมืองบึงยี่โถ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กับยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านส่งเสริมคุณภาพชีวิต (ประจำปีงบประมาณ 2557). วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5(2), 122-130.

สิริโฉม พิเชษฐบุญเกียรติ. (2553). รายงานผลการวิจัยความพึงพอใจของประชาชนต่อการให้บริการของเทศบาลเวียงพางคำ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. (2562). ขอบเขตการดำเนินงาน (Term of Reference: TOR) สำรวจความพึงพอใจของผู้รับบริการที่มีต่อการให้บริการสาธารณะขององค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. ภูเก็ต: องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. (2562). องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต. แหล่งที่มา: http://www.phuketcity.org/index.php. (สืบค้นวันที่ 13 มกราคม 2562).

อมรารัตน์ บุญภา. (2557). ความพึงพอใจของประชาชนต่อคุณภาพการให้บริการของเทศบาลตำบลพวา อำเภอแก่งหางแมว จังหวัดจันทบุรี. งานนิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการ. ภาครัฐและภาคเอกชนวิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.

อำภร ศรราช. (2553). ความพึงพอใจและความต้องการของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาของท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลไทรงาม อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. 2nd Ed. New York: Harper and Row.

Yang, K., & Miller, G. J. (2008). Handbook of research methods in public administration.2nd Ed. New York: Taylor & Francisgroup.