การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมู่บ้านแพมบก อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

สัญญา สะสอง
ชุติมันต์ สะสอง
บุศรา นิยมเวช

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และเสวนากลุ่มย่อยกับกลุ่มประชาสังคม จำนวน 50 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่บ้านแพมบก และเพื่อหาแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่บ้านแพมบก


ผลการวิจัยพบว่า ทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนบ้านแพมบก มี 2 ลักษณะ คือ 1) ทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม ได้แก่ วิถีชีวิต แนวคิด ความเชื่อ และวัฒนธรรม ประเพณีของชาวไทใหญ่ที่สืบทอดมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ คือ การมีรูปแบบชีวิตที่เรียบง่าย มีความเชื่อดั้งเดิมในเรื่องผีผสมกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนาแบบไต และ 2) ทรัพยากรท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม ได้แก่ หอเจ้าเมือง วัด สะพานไม้ไผ่โขกู้โส่ การตั้งบ้านเรือน และการแต่งกาย โดยรับเอาวัฒนธรรมไตมาจากประเทศเมียนมา ส่วนประเด็นการหาแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่บ้านแพมบก พบว่า ได้แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3 ด้าน คือ 1) ส่งเสริมอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ไทใหญ่ในทุกมิติ โดยการเน้นอัตลักษณ์เฉพาะกลุ่ม มีการรักษาประเพณีตามความเชื่อดั้งเดิม ส่งเสริมประเพณีทางพระพุทธศาสนา มีการแต่งกายด้วยชุดไต 2) สร้างจุดเช็คอินสะพานไม้ไผ่โขกู้โส่ ชุมชนร่วมกันปรับปรุงสะพานโขกู้โส่สำหรับเป็นจุดเช็คอิน สร้างร้านอาหาร ร้านกาแฟและเครื่องดื่มไว้บริการนักท่องเที่ยว เก็บบัตรผ่านสำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติและตั้งตู้รับบริจาคสำหรับนักท่องเที่ยวชาวไทย ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50 และ 3) จัดตั้งคณะกรรมการดำเนินงานด้านต่างๆ เช่น คณะกรรมการบริหารหมู่บ้าน คณะกรรมการสืบสานวัฒนธรรมไต คณะกรรมการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป็นต้น เพื่อให้เกิดภาระหน้าที่และความรับผิดชอบที่ชัดเจน เกิดการบริหารชุมชนแบบกระจายอำนาจ และมีการขับเคลื่อนชุมชนท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรมเด่นชัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชุมพล รอดแจ่ม. (2555). เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. ทุนสนับสนุนวิทยาลัยราชพฤกษ์.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2550). การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: เพรส แอนด์ดีไซน์.

วรเมธ ยอดบุ่น. (2548). อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยว:ศึกษากรณี หมู่บ้านรวมมิตร อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญญา สะสอง และชุติมันต์ สะสอง. (2561). การจัดการชุมชนด้วยมิติการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ละว้าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6 คณะบริหารธุรกิจและการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

Mowforth and Munt. (2003). Tourism and Sustainability: New Tourism in the Third World. (second edition 2). Routledge Taylor & Francis Group.