ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง ได้ตั้งวัตถุประสงค์ของการศึกษาเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโท กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาและขึ้นทะเบียน จำนวน 100 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทในมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน 4 ด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านคุณลักษณะของสถาบัน รองลงมาคือ ด้านการประกอบอาชีพ และด้านที่น้อยที่สุด คือ ด้านสังคมและเศรษฐกิจ
2. เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การเพิ่มพูนความรู้/ ความก้าวหน้าในหน้าที่การงาน รองลงมาคือ รายละเอียดและการตัดสินใจ การมีการวางเป้าหมายว่าจะศึกษาต่อให้ถึงในระดับสูงและน้อยที่สุด คือ เพราะเพื่อนหรือคนสนิทชักชวนมาเรียนด้วย
3. การสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาโทพบว่าปัจจัยด้านสังคมและเศรษฐกิจ (X4) เป็นตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อได้ดีที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .866 และมีอำนาจของการพยากรณ์เท่ากับร้อยละ 75.0 เมื่อเพิ่มตัวแปรพยากรณ์ทั้งปัจจัยด้านคุณลักษณะของมหาวิทยาลัย (X1) ปัจจัยด้านหลักสูตร (X2) และปัจจัยด้านการประกอบอาชีพ (X3) พบว่าตัวแปรพยากรณ์ดังกล่าวสามารถร่วมกันอภิปรายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 78.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนดิบ คือ 0.470, 0.191, 0.128 และ 0.120 และมีค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน คือ 0.500, 0.185, 0.129 และ 0.123 ตามลำดับ
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2554). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.
กิตติภณ กิตยานุรักษ์. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ของนักศึกษาหลักสูตรสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุตรดิตถ์.
เกรียงศักดิ์ แสงจันทร์. (2549). ปัจจัยที่ส่งผลกต่อการตัดสินใจเข้าศึกษาต่อหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการบริหการรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ทรงธรรม ธีระกุล และคณะ. (2553). ปัจจัยในการตัดสินใจเข้าศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยทักษิณ. หน่วยวิจัยสถาบัน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2555). ระเบียบวิธีการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์มีเดีย จำกัด.
ประศาสน์ ไสวงษ์. (2552). แรงจูงใจในการศึกษาต่อของนักศึกษาปริญญาโท มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.
ปรีชา ภูมิกอง. (2549). การตัดสินใจเลือกศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต: กรณีศึกษาสาขาการบริหารงานท้องถิ่น รุ่น 1 สาขาการบริหารทั่วไป รุ่น 5 และสาขานโยบายสาธารณะ รุ่น 8. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ: มหาวิทยาลัยบูรพา.
มณฑล บุญธรรม. (2550). ศึกษาความต้องการศึกษาต่อระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาคณิตศาสตรศึกษา สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี. อุบลราชธานี: สถาบันราชภัฎอุบลราชธานี.
มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง. (2559). คู่มือนักศึกษา (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559). เลย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตศรีล้านช้าง.
เมธาวี สุขปาน. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้น สูง (ปวส.) ของนักเรียน กรณีศึกษาวิทยาลัยพณิชยการธนบุรี. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
ศศิวิมล แสนเมือง. (2554). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตั้งใจเลือกมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีของนักเรียนที่มีผลการเรียนดีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
ศุภชัย จันทร์งาม และคณะ. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกเรียนสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยของนักศึกษาสาขาวิชาการปฐมวัย มหาวิทยาลัยราชธานี. สมาคมสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติ ประจำปี 2556.
เสถียร เกรงขาม. (2551). แรงจูงใจในการเลือกศึกษาต่อระดับบัณฑิตศึกษาของนิสิตในมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยนเรศวร.
เอกสิทธิ์ สนามทอง. (2547). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกเข้าศึกษาต่อสถาบันศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต.
Cubillo, J.M., Sanchez, J., and Cervino, J. (2006). International Student’s Decision-Making Process. International Journal of Educational Management.