การประเมินผลการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การปฏิบัติ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการดำเนินการตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของรัฐบาลและศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การปฏิบัติ ใช้การวิจัยเชิงผสม โดยการศึกษาเชิงปริมาณ การเก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามจากผู้บริหารและบุคลากรของสำนักงานพัฒนาชุมชนในระดับจังหวัดและอำเภอทุกอำเภอ ใน 7 จังหวัดในภาคตะวันออกได้แก่ จังหวัดจันทบุรี จังหวัดฉะเชิงเทรา จังหวัดชลบุรี จังหวัดตราด จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดระยอง จังหวัดสระแก้ว จำนวน 365 คน และวิเคราะห์ผลมีสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยพหุ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การศึกษาจากเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนผู้บริหารระดับจังหวัดและบุคลากรในระดับอำเภอ รวมทั้งผู้นำชุมชนที่เกี่ยวข้องกับนโยบาย ใช้การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเพื่อยืนยันผลการศึกษาเชิงปริมาณและการค้นหาข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกระบวนการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ
ผลการวิจัยพบว่า ระดับความคิดเห็นของบุคลากรสำนักงานพัฒนาชุมชนในภาคตะวันออกต่อผลของความสำเร็จของการนำนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนไปสู่การปฏิบัติ อยู่ในระดับมาก (x̄ = 3.89) พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทั้ง 3 ปัจจัย โดยสามารถเรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ด้านประสิทธิผล (การบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์) (x̄ = 3.97) รองลงมาคือด้านประสิทธิภาพ(ความคุ้มค่า) (x̄ = 3.87) และด้านความยั่งยืนและการขยายต่อนโยบาย (x̄ = 3.85) ตามลำดับ ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติประกอบด้วยปัจจัยภายใน 4 ปัจจัย ได้แก่ ทัศนคติของผู้ปฏิบัติต่อนโยบาย ความยากง่ายของกระบวนการในการปฏิบัติ ความเข้าใจในนโยบายและแผนและด้านศักยภาพของบุคลากร ตามลำดับ และปัจจัยภายนอก 6 ปัจจัย ได้แก่ ความสัมพันธ์กับหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องความชัดเจนของนโยบายและแผนความเข้มข้นการตรวจสอบ การสนับสนุนจากผู้บังคับบัญชา ภาวะเศรษฐกิจ และการตอบรับและสนับสนุนของชุมชน/สังคม ตามลำดับ
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
กรมการพัฒนาชุมชน. (2560). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนกรมการพัฒนาชุมชน พ.ศ. 2560-2564. แหล่งที่มา : cddadg.cdd.go.th/.../เอกสารเล่ม-แผนปฏิบัติการ-OG-2560-20-มค-60.pdf.
ภาคภูมิ ฉิ่งทองคำ . (2558). การนำนโยบายการจัดตั้งศูนย์ปรองดองสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปไปปฏิบัติของจังหวัดนครปฐม. E-Journal, Slipakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(2).
นิสา ละวรรณวงษ์ และนริทร์ สังข์รักษา. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการเชิงกลยุทธ์ของวิสาหกิจชุมชนอัญมณีและเครื่องประดับ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อการแข่งขันทางการค้าสู่ประชาคมอาเซียน. E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1).
ศรัณย์ ฐิตารีย์. (2558). ความสำเร็จของการนำนโยบายด้านสวัสดิการสังคมไปปฏิบัติ ของเทศบาลเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสารสนเทศ, 14(2).
สุธิชาติ เมืองปาน. (2559). การนำนโยบายคนไทยไร้พุงไปสู่การปฏิบัติ : กรณีศึกษาอำเภอควนโดน จังหวัดสตูล. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 11(21).
University. ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.).
สัมฤทธิ์ ญศสมศักดิ์ และอนุรัตน์ อนันทนาธร. (2555) นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: เวิลด์เทรด.
เสริมศรี สุทธิสงค์. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการจัดการวิสาหกิจชุมชนกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: กรณีศึกษาวิสาหกิจชุมชนกลุ่มผู้ผลิตผ้าไหมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(25).
อนุรัตน์ อนันทนาธร. (2563). การจัดการความมั่นคงของวิสาหกิจขุมชนตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารการเมือง กฏหมายและการบริหาร, 11(3).
อิทธิชัย สีดำ. (2557). ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการนำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, ปีที่ 20(4).