การสร้างความปรองดองของประชาชนในจังหวัดเลย ตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก

Main Article Content

ภาสกร ดอกจันทร์
รพีพร ธงทอง
สุรพล พรมกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาวิธีการสร้างความปรองดองของประชาชนในจังหวัดเลยตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกประชากรกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ประชากรผู้ให้ข้อมูลหลักในพื้นที่จังหวัดเลย จำนวน 16 คน 2) กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนจังหวัดเลยจำนวน 399 คน ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ 3) ผู้ให้ข้อมูลในการร่วมอภิปรายกลุ่ม จำนวน 20 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างความปรองดองตามหลักธรรมในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท เพื่อให้มีการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกของประชาชนโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ พฤติกรรมด้านร่างกาย รองลงมาคือ พฤติกรรมด้านจิตใจ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ พฤติกรรมด้านสังคม (2) วิธีการสร้างความปรองดองของประชาชนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก มี 2 วิธี (1) แนวนิติศาสตร์ โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดพร้อมหัวหน้าส่วนงานราชการต่างๆ และทุกภาคส่วนในจังหวัดต่างให้ความตระหนักและได้มีการขับเคลื่อนเรื่องความปรองดอง และ (2) แนวรัฐศาสตร์วิธีการสร้างความปรองดองของประชาชนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุก พบว่า ควรจัดให้มีการจัดกิจกรรมการดำเนินกิจกรรมใดๆ เกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนโดยให้พระสงฆ์เข้ามามีส่วนร่วมกับภาครัฐและเอกชน และประชาชนในการเชื่อมโยง ผลักดันโครงการให้ดำเนินไปได้อย่างบรรลุเป้าหมายเพื่อปลูกฝังความปรองดองให้เกิดความสมานฉันท์และบรรยากาศความเอื้ออาทรต่อกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การปรองดอง. (2557). การปรองดอง. แหล่งที่มา : http://www.webhost.cpd.go.th/loei/download/new57/ปรองดอง%2023กค57.pdf.

นันทิชา วีระวานิช. ผลการดำเนินงานโครงการสุราษฎร์ธานีเมืองคนดีมีส่วนร่วมปรองดอง สมานฉันท์เพื่อสร้างสรรค์ชาติ. แหล่งที่มา : http://www. region5.prd.go.th (สืบค้นวันที่ 9 กรกฎาคม 2557).

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2539.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. (2555). สรุปผลที่สำคัญการสำรวจสภาวะทางสังคมและวัฒนธรรม พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สำนักประชาสัมพันธ์เขต 1 ขอนแก่น. (2558). จังหวัดเลยเปิดโครงการปลูกฝังสำนึกรักสามัคคีและเสริมสร้างความปรองดอง. แหล่งที่มา : ttp://www.region1.prd.go.th/ewt_news.php?nid=15972&filename=index (สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2558).

Kewika Poomdee. (2557). เวทีสร้างความปรองดองสมานฉันท์ ตำบลปากชม. แหล่งที่มา : https://www.gotoknow.org/posts/574561 (สืบค้นวันที่ 4 กันยายน 2557).

Mcot.net. (2557). จังหวัดเลยจัดมหกรรมการสร้างความปรองดองสมานฉันท์ คืนความสุขให้คนในชาติ. แหล่งที่มา : http://www.mcot.net/site/content?id=53d0b4d2be0470366b8b4585#.Vr8B_PmLTIU (สืบค้นวันที่ 16 กันยายน 2557).