การบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแบบมีส่วนร่วมของชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (อสทล.) บ้านท่าพิกุล อำเภอท่าฉาง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วิศาล ศรีมหาวโร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีลักษณะของการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทพื้นที่และสภาพปัญหาของการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในชุมชนบ้านท่าพิกุล และ 2) ค้นหากลยุทธ์ทางเลือกของการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านท่าพิกุล ใช้วิธีศึกษาโดยการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก (SWOT Analysis) และการวิเคราะห์กลยุทธ์ทางเลือกแบบไขว้ (TOWS Matrix) กับบุคคลผู้มีส่วนได้เสียกับเครือข่าย จำนวน 55 คน


ผลการวิจัยพบว่า บริบทบ้านท่าพิกุลเป็นพื้นที่ชายฝั่งทะเลทางอ่าวไทยและเป็นส่วนสำคัญของพื้นที่ที่เรียกว่า “อ่าวบ้านดอน” มีทรัพยากรและระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่งที่อุดมสมบูรณ์และเป็นชุมชนเศรษฐกิจพึ่งตนเองต่อมาเกิดการบุกรุกพื้นที่จากนายทุนภายนอก เปลี่ยนพื้นที่เดิมให้กลายเป็นที่อยู่อาศัยและที่ประกอบอาชีพ ชุมชนมีการรวมตัวตั้งกลุ่ม “อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (อสทล.)” แต่ยังขาดการบริหารจัดการทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพ การศึกษาสภาพปัญหาของการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า 1) ชาวบ้านบางส่วนยังขาดความรู้ความเข้าใจ และจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร และการจัดการชุมชนพึ่งตนเองบนฐานของทรัพยากร 2) ยังมีการบุกรุกป่าชายเลนเพื่อที่อยู่อาศัยและประกอบอาชีพ และ 3) เครือข่ายอาสาสมัครพิทักษ์ทะเล (อสทล.) มีข้อจำกัดในการดำเนินงานโดยเฉพาะระบบสวัสดิการ ส่วนการค้นหากลยุทธ์ทางเลือกของการบริหารจัดการพบว่า 1) กลยุทธ์เชิงรุก ได้แก่ การเสริมสร้างศักยภาพและสมรรถนะแก่กลุ่มเครือข่ายอาสาสมัครฯ การใช้เครื่องมือเชิงบูรณาการภูมิปัญญาชาวบ้านกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้สื่อสังคมออนไลน์ 2) กลยุทธ์แก้ไข ได้แก่ การส่งเสริมสนับสนุนการสร้างความรู้ความเข้าใจ และจิตสำนึกการพัฒนาเชิงบูรณาการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการจัดการตนเอง 3) กลยุทธ์ป้องกัน ได้แก่ การปรับเลื่อนช่วงเวลาพัฒนาแบบประชาอาสาให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงบริบทพื้นที่และการเร่งขยายขอบเขตโครงการทวงคืนผืนป่าให้กว้างขวางมากยิ่งขึ้น และ 4) กลยุทธ์แก้วิกฤต ได้แก่ การบังคับใช้กฎหมายให้ทั่วถึงเป็นธรรม และการเพิ่มมาตรการเฝ้าระวังป้องกันการอนุรักษ์พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีเชิงบูรณาการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. (2556). ข้อมูลเบื้องต้นของทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง. สืบค้นเมื่อ 3 ธันวาคม 2564, จาก http://marinegiscenter.dmcr.go.th/km/coastalerosion_doc1#.UwyweNJdVIF.

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2551). รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างง่ายสำหรับชุมชน. ใน สุวลักษณ์ สาธุมนัสพันธุ์ (บรรณาธิการ), รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมอย่างง่ายสำหรับชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 1), 1. กรุงเทพฯ : กรมส่งเสริมคุณภาพคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กรรณิการ์ นาคฤทธิ์. (2558). การศึกษารูปแบบการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่งของชุมชนประมงพื้นบ้าน กรณีศึกษาธนาคารปูม้า ชุมชนคลอง อบต. หมู่ที่ 4 ตำบลบางแก้ว อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

โครงการจัดการทรัพยากรชายฝั่งภาคใต้. (2549). การจัดการทรัพยากรชุมชนชายฝั่งโดยชุมชน ศึกษากรณีการทำซั้งของชุมชนบ้านทอน ต.โคกเคียน อ.เมือง จ.นราธิวาส. (รายงานวิจัย). สงขลา: หจก.โฟ-บาร์ด สงขลา.

ชล บุนนาค. (2554). แนวคิดว่าด้วยการจัดการทรัพยากรร่วม : ประสบการณ์จากต่างประเทศและแนวคิดในประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปร.).

วิลาสินี กนิษฐานุพงค์. (2556). การจัดการทรัพยากรชายฝั่งทะเลโดยชุมชน กรณีศึกษาชุมชนชายฝั่งตำบลบ่อหิน อำเภอสิเกา จังหวัดตรัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.

ศิริชัย กุมารจันทร์. (2558). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรประมงในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. (รายงานการวิจัย). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2558). รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา การทบทวนและปรับปรุงแผนแม่บทการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2556 - 2559. (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

อภีษฎา คุณาพรธรรม. (2551). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของเครือข่ายองค์กรชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มอนุรักษ์และพัฒนาป่าชายเลนบ้านเปร็ดใน จังหวัดตราด.(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

อรทัย หนูสงค์. (2560). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการเขตอนุรักษ์สัตว์น้ำ : กรณีศึกษาหมู่ที่ 1 ตำบลป่าขาด อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. สงขลา.

Carlson, L. & Berkes, F. (2005). Co-management: concepts and methodological implications. Journal of Environmental Management, 75(1), 65-76.

Fleishman, R. (2006). Co-management as a solution to the “Tragedy of the Commons”? Lessons from Thai Fisheries. New York: Maxwell School of Syracuse University.

Ostrom, E. (2010). Beyond Markets and States: Polycentric Governance of Complex Economic Systems. American Economic Review, 100(3), 641-672.