แนวทางการทำเกษตรอินทรีย์สู่อาหารปลอดภัย ให้กับนักเรียนและชุมชนในเขตพื้นที่โรงเรียน สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อัญชิรีย์ ฐิติธนัญญา
ธรรมพร ตันตรา

บทคัดย่อ

การศึกษาแนวทางการทำเกษตรอินทรีย์สู่อาหารปลอดภัยให้กับนักเรียนและชุมชนในเขตพื้นที่โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเมินโครงการการทำเกษตรอินทรีย์สู่อาหารปลอดภัยให้กับนักเรียนและชุมชน ศึกษาเงื่อนไขปัจจัยที่สำคัญในการสนับสนุนให้โครงการเกษตรอินทรีย์สู่อาหารปลอดภัยประสบผลสำเร็จ และศึกษาแนวทางที่เหมาะสมในการทำเกษตรอินทรีย์สู่อาหารปลอดภัยให้กับนักเรียนและชุมชน โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการโดยสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 56 คน ในพื้นที่นำร่องโครงการเกษตรอินทรีย์สู่อาหารปลอดภัย จำนวน 4 แห่ง 


ผลการวิจัย พบว่า จากการประเมินตามกระบวนการของ CIPP Model คือประเมินสภาพแวดล้อม ประเมินปัจจัยนำเข้า  การประเมินกระบวนการ  และประเมินผลการดำเนินโครงการหลังจากดำเนินโครงการเสร็จสิ้น การประเมินผลผลิตซึ่งสามารถเพิ่มรายได้ให้แก่โรงเรียนและชุมชน นักเรียน ครู ผู้ปกครองและประชาชนสามารถเลือกบริโภคอาหารที่มาจากผลผลิตอินทรีย์มีความเพียงพอต่อการบริโภคและจำหน่ายไปยังพื้นที่ใกล้เคียงได้ เงื่อนไขที่ทำให้โครงการประสบความสำเร็จ ได้แก่ งบประมาณ บุคลากรหรือทีมงาน เครื่องมืออุปกรณ์ และระยะเวลาความต่อเนื่องของโครงการ แนวทางที่เหมาะสมในการการทำเกษตรอินทรีย์สู่อาหารปลอดภัยให้กับนักเรียนและชุมชน คือ 1) การวางแผนผลิตวัตถุดิบที่มีคุณภาพปลอดภัยมาจัดทำอาหารกลางวันโดยเพิ่มปริมาณการบริโภคอาหารอินทรีย์ไปพร้อม ๆ กับ 2) การสร้างความตระหนักในการบริโภคอาหารอินทรีย์ 3) การสร้างเครือข่ายเกษตรอินทรีย์เพื่อลดปัญหาผลผลิตไม่เพียงพอต่อการบริโภค 4) ประชาสัมพันธ์ประโยชน์ของการบริโภคอาหารอินทรีย์มากขึ้น 5) สร้างช่องทางการจัดจำหน่ายเพิ่ม ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ควรถอดบทเรียนปัจจัยความสำเร็จจากพื้นที่นำร่องไปยังโรงเรียนและชุมชนที่มีความพร้อมเพิ่มปริมาณการผลิตเพื่อรองรับช่องทางจำหน่ายที่เปิดกว้างมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กกาญจนา สุระ. (2554). การวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการวิจัยแห่งชาติ.

กังสดาลย์ บุญปราบ. (2549). สถานการณ์ความปลอดภัยของอาหารในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับความรู้และพฤติกรรมของผู้บริโภคและการเปรียบเทียบบางลักษณะกับประเทศญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

กัลยาณี กุลชัย, และ พีระชัย กุลชัย. (2549). พฤติกรรม ทัศนคติ และปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคผักอินทรีย์ในเขตกรุงเทพมหานคร. ใน การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 44 สาขาศึกษาศาสตร์ สาขาสังคมศาสตร์ สาขาส่งเสริมและนิเทศศาสตร์เกษตร สาขามนุษยศาสตร์ สาขาคหกรรมศาสตร์ (น. 347-354). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

ขนิฏฐา กาญจนรังษีนนท์. (2547). การสร้างเครือข่ายเพื่อการพัฒนา. สืบค้นจาก https://www.researchgate.net/publication/237077426_karsrangkheruxkhaypheuxkarphathna

คณะอนุกรรมการจัดทำแผนโภชนาการ. (2540). แผนอาหารและโภชนาการแห่งชาติตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ. 2540 – 2544). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข.

ชนานาถ แสนเสมอ. (2554). การเปรียบเทียบภาวะโภชนาการของเด็กวัยก่อนเรียนและหลังการจัดโครงการพัฒนาสุขภาพ. (การค้นคว้าแบบอิสระปริญญามหาบัณฑิต)มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

นราวัลย์ พูลพิพัฒน์, สมร เจนจิจะ, สุรางคนา เลี่ยมเพ็ชรรัตน์, และ ศรีวิไล พลมณี. (2546). การประเมินโครงการสืบสานครูไทย (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ปาณบดี เอกะจัมปกะ, และ นิธิศ วัฒนมะโน. (2552). พฤติกรรมบริโภคอาหารของประชาชนไทยในยุคโลกาภิวัตน์. สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย, 3(2), 6-14.

สมหมาย กล้าณรงค์. (2548). การพัฒนาเครือข่ายชุมชนสร้างสุขภาพบ้านทุ่งโป่ง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

อินทิรา เจียระสุพัฒน์. (2552). กระบวนการขับเคลื่อนการจัดทำแผนชุมชนพึ่งตนเองภายใต้แนวปรัชญาเศรษฐกิจแบบพอเพียง: กรณีศึกษาเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดปทุมธานี (รายงานการศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่. (2563). แผนดำเนินงานองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2563. สืบค้นจาก https://www.chiangmaipao.go.th/th/detail.php?id=7055