การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงแบบมีส่วนร่วมบนฐานทรัพยากรชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มสตรีทำเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้าง ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปของกลุ่มสตรีทำเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้าง ตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา 2) พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงแบบมีส่วนร่วมบนฐานทรัพยากรชุมชนของกลุ่มสตรีทำเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้าง และ 3) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มสตรีเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้าง โดยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่าม
ผลการวิจัยพบว่า ตำบลปากแตระเป็นชุมชนที่ชาวบ้านยังประสบกับปัญหาการประกอบอาชีพ จึงมีการก่อตั้งกลุ่มสตรีทำเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้างขึ้น เพื่อให้ชาวบ้านในชุมชนมีอาชีพและรายได้จากการผลิตเครื่องแกงจำหน่าย โดยเริ่มแรกการผลิตเครื่องแกงของกลุ่มเป็นแบบตำมือ ต่อมาเปลี่ยนเป็นการใช้เครื่องบดไฟฟ้า อย่างไรก็ตามกลุ่มยังประสบปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะด้านภาพลักษณ์ผลิตภัณฑ์ และด้านการควบคุมต้นทุนวัตถุดิบ จึงนำมาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องแกงแบบมีส่วนร่วมบนฐานทรัพยากรชุมชน โดยมีการดำเนินการ 7 กิจกรรมด้วยกัน ได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาโลโก้กลุ่ม กิจกรรมการพัฒนาฉลากสินค้า กิจกรรมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ กิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์พริกน้ำส้ม กิจกรรมแปลงสาธิตการปลูกพริกปลอดสารพิษ กิจกรรมการส่งเสริมการใช้ฮอร์โมนนมสดเร่งการเจริญเติบโตของพริก และกิจกรรมการสร้างเพจสินค้า โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่าง ๆ ที่เรียกว่า “วชร” (วัด, ชุมชน และรัฐ) สำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนากลุ่ม ได้แก่ การพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์เครื่องแกงในลักษณะของการสร้างมูลค่าเพิ่มในรูปแบบต่าง ๆ การส่งเสริมการทำแปลงสาธิตปลอดสารพิษที่เน้นการปลูกวัตถุดิบประเภทอื่น ๆ นอกเหนือจากพริก การกำหนดโครงสร้างของกลุ่มให้มีความชัดเจน และการส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพให้กับกลุ่มสตรีทำเครื่องแกงบ้านหัวเกาะช้าง
Article Details
ลิขสิทธิ์
References
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ. (2555). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวตลาดน้ำภาคใต้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร. กรุงเทพฯ.
ธีรพงษ์ เทพกรณ์. (2556). การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำพริกน้ำเมี่ยงคั่วของชุมชนบ้านผาเด็ง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 6(1), 67-79.
ปทุมวรรณ ทองตราชู. (2557). การพัฒนาผลิตภัณฑ์แบบมีส่วนร่วมโดยประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับผลิตภัณฑ์ดอกไม้ยางพารา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, 34(1), 15-28.
พิสิทธิ์ รัตนะ, ภรณี ต่างวิวัฒน์ และ บำเพ็ญ เขียวหวาน. (2559). การมีส่วนร่วมของเกษตรกรในโครงการชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนบ้านถ่อนนาลับในจังหวัดอุดรธานี. แก่นเกษตร, 44(ฉบับพิเศษ 1). 612-618.
มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2556). ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อขนมลากรอบ กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 (น. 251-259). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
วิวัฒน์ จันทร์กิ่งทอง และคณะ. (2561). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์และป้ายฉลากเครื่องแกงตำมือ บ้านทุ่งชุม ตำบลลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (น. 1491-1505). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
หทัยชนก คะตะสมบูรณ์. (2563). การพัฒนาศักยภาพของชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาตำบลเนินศาลา อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 8(2), 473-488.
Kemmis, S. and McTaggart, R. (1990). The Action Research Planner. Geelong: Deakin University Press.