การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มบนฐาน ทรัพยากรชุมชน กรณีศึกษา กลุ่มเปาเปา ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ณัฐพร ทองฤทธิ์นุ่น
วรรณกานต์ พุทธรักษ์
ซัลมี แคเมาะ
ชลลดา แสงมณี ศิริสาธิตกิจ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของกลุ่มเปาเปา ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มบนฐานทรัพยากรชุมชนของกลุ่มเปาเปา ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเปาเปา ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา โดยการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพที่เน้นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ


ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนตำบลวัดจันทร์เป็นชุมชนชนบท มีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่ราบชายฝั่งทะเล และที่ราบลุ่ม สภาพดินเป็นดินเหนียวปนทราย เหมาะแก่การเพาะปลูก และมีต้นตาลโตนดเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญ โดยกลุ่มเปาเปาเป็นการรวมตัวของชาวบ้านในชุมชน ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2563 เนื่องจากเป็นกลุ่มที่เพิ่งก่อตั้งจึงยังมีโครงสร้างและการบริหารงานไม่ชัดเจน นอกจากนี้กลุ่มยังมีปัญหาในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ จึงนำมาสู่แนวคิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มบนฐานทรัพยากรชุมชน โดยมีการดำเนินงาน 4 กิจกรรม ได้แก่ 1) กิจกรรมการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่งประกอบด้วย 2 กิจกรรมย่อย ได้แก่ กิจกรรมการต่อยอดผลิตภัณฑ์เดิม ได้แก่ ซาลาเปา และกิจกรรมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ได้แก่ โดนัทจิ๋วตาลโตนด วาฟเฟิลตาลโตนด และกล้วยฉาบน้ำตาลโตนด 2)  กิจกรรมการพัฒนาโลโก้กลุ่ม 3) กิจกรรมการพัฒนาฉลากผลิตภัณฑ์ และ 4) กิจกรรมการสร้างเพจสินค้า สำหรับแนวทางการส่งเสริมและพัฒนากลุ่มเปาเปา ได้แก่ 1) การพัฒนากลุ่มและกำหนดโครงสร้างของกลุ่ม ตลอดจนการบริหารจัดการกลุ่มให้มีความชัดเจน 2) การส่งเสริมและสนับสนุนองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ให้กับสมาชิกกลุ่ม โดยเฉพาะองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี 3) การส่งเสริมและสร้างกิจกรรมให้กับกลุ่มเปาเปาในรูปแบบต่าง ๆ และ 4) การประชาสัมพันธ์กลุ่มให้เป็นที่รู้จักโดยผ่านช่องทางต่าง ๆ โดยเฉพาะช่องทางสื่อออนไลน์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ ดาราเรือง. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์ทางการตลาดวิสาหกิจชุมชนบ้านเขาแหลม จังหวัดนครสวรรค์. สุทธิปริทัศน์, 31(100), 130-143.

จิตพนธ์ ชุมเกต. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. (รายงานการวิจัย). เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ลักษณาพร โรจน์พิทักษ์กุล. (2550). การพัฒนารูปแบบการอนุรักษ์และส่งเสริมผลผลิตจากตาลโตนด: กรณีศึกษาชุมชนตำบลปากน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, ฉะเชิงเทรา.

สมชาย น้อยฉ่ำ, วรินทร์ธร ธรสารสมบัติ, และ สุภา แสงจินดาวงษ์. (2561). การบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารเกษมบัณฑิต, 19(ฉบับพิเศษเดือนมีนาคม), 130-139.

สุภัทณี เปี่ยมสุวรรณกิจ และสุทธิพร เปี่ยมสุวรรณกิจ. (2562). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวตำบลนางแล อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. ใน การประชุมวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครั้งที่ 2 “มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นวัตกรรมสร้างสรรค์สังคม” (น. 1059-1068). สืบค้นจาก http://human.skru.ac.th/husoconference/ conf/P37.pdf

องค์การบริหารส่วนตำบลวัดจันทร์. (2562). แผนพัฒนาสี่ปี (๒๕๖๑-๒๕๖๔). สืบค้นจาก http://www.watchan.go.th/content/developPlan.

อมรรัตน์ อนันต์วราพงษ์. (2557). รูปแบบการพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนบางหัวเสือจังหวัดสมุทรปราการ ตามแนวคิดพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารศิลปกรรมศาสตร์วิชาการ วิจัยและงานสร้างสรรค์ ราชมงคลธัญบุรี, 1(2), 126-151.

อัจฉรา มลิวงค์, และ ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช. (2553). การพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรสู่มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนนวดแผนไทยบ้านแม่ทะ อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง. ใน การประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ประจำปี 2554 “การพัฒนาอนาคตชนบทไทย: รากฐานที่มั่นคงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน” (น. 300-304). ลำปาง: มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1990). The action research planner. Geelong: Deakin University Press.