การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อรองรับการขยายตัวชุมชน

Main Article Content

ชาญณรงค์ จันทร์มี
พิชญ์ จิตต์ภักดี

บทคัดย่อ

การศึกษาการบริหารจัดการเพื่อรองรับการขยายตัวชุมชน กรณีศึกษา ณ บ้านห้วยลึก ตำบลปิงโค้ง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ทำการศึกษาผ่านการวิจัยเอกสารและการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประชาชนในชุมชน พร้อมทั้งหยิบยกตัวแบบซิป (CIPP Model) มาใช้เป็นโครงสร้างการอธิบายผลการศึกษาอย่างเป็นกระบวนการ พบว่า บ้านห้วยลึกมีการขยายตัวของชุมชนอย่างต่อเนื่องอย่างรวดเร็ว เป็นเพราะหมู่บ้านดังกล่าวตั้งอยู่บริเวณทางผ่านถนน เชียงใหม่-ฝาง มีตลาดม้ง หรือ “กาดม้ง” เป็นพื้นที่เศรษฐกิจของชุมชน อีกทั้งยังอยู่ใกล้กับพื้นที่โครงการหลวง จึงเป็นพื้นที่ที่หน่วยงานภาครัฐให้ความสนใจในการเลือกเป็นชุมชนเพื่อการพัฒนาในด้านต่างๆ ในขณะเดียวกันพบว่าการที่ชุมชนเกิดการพัฒนาอย่างรวดเร็วส่งผลให้ชุมชนเองเกิดการขยายตัวมากเสียจนนำปัญหาต่างๆกลับมาคืนมาสู่ชุมชน อาทิ ปัญหาด้านน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคไม่เพียงพอ บางส่วนเกิดการเน่าเสีย ที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยที่ไม่เพียงพอกับจำนวนของประชากรที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง การศึกษานี้ผู้ศึกษาได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการชุมชนที่มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ตามแนวศึกษาดังนี้ 1) ต้องมีจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้กระจายแก่ทุกคนในชุมชนอย่างทั่วถึง 2) มีกระบวนการการบริหารและจัดการประชากร การพูดคุยจัดทำแผนประชากรของชุมชน และ 3) มีการกำหนดวางแผนการเจริญเติบโตของชุมชน อีกทั้งผู้ศึกษายังเสนอให้หน่วยงานภาครัฐชะลอการเร่งรัดการพัฒนา ด้วยโครงการต่าง ๆ มากมาย แต่หันมามุ่งเน้นการเป็น “พี่เลี้ยงทางสังคม” สร้างระบบสาธารณูปโภคและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการพัฒนาของชุมชนด้วยตนเองอย่างยั่งยืนสืบไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2553). คู่มือแนวทาง การขับเคลื่อนกระบวนการแผนชุมชน. กรุงเทพฯ: กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย.

กอบกุล วิศิษฏ์สรศักดิ์. (2560). การจัดการความขัดแย้งในงานพัฒนาชุมชน. วารสารวิชาการVeridian E –Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทยสาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 1687-1700.

จารุพงศ์ พลเดช. (2550). แผนชุมชน. สืบค้นจาก http://km.moi.go.th/km/15_good/good13.PDF

ณรงค์วิทย์ แสนทอง. (ม.ป.ป.). การพัฒนาคนแนวใหม่ : Inside Out Development Approach. สืบค้นจาก https://www.hrcenter.co.th/file/columns/hr_f_20170509_164620.pdf

ดุลย์วิทย์ ติกุล. (2543). การจัดประโยชน์ที่ดินของวัดดอนเพื่อที่อยู่อาศัยของชุมชนแออัดวัดดอนพม่า (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

ธรรมนิตย์ สุมันตกุล. (2562). การจัดการทรัพยากรร่วม (Common-Pool Resources - CPRs) กับข้อเสนอของ Elinor Ostrom: การใช้และการดูแลรักษาภายใต้กฎเกณฑ์ร่วมกัน. สืบค้นจาก https://www.krisdika.go.th/data/activity/act356.pdf

ธาดา รัฐชกิต. (2562, เมษายน 23). การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Development : HRD). สืบค้นจาก https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/190423-human-resource-development/

พระมงคล สุมงฺคโล. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่มีต่อวิถีชีวิตชนเผ่าละว้าหมู่ที่ 11 ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารพุทธศาสตร์ศึกษา, 8(2), 57-68.

มอริส แคทเธอรีน. (2547). การจัดการความขัดแย้งและการ "ขอโทษ". กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

รัตนา รองชูเพ็ง. (2555). ปัญหาความไม่เข้มแข็งขององค์กรชาวบ้านในการพัฒนาชุมชน. สืบค้นจาก https://www.gotoknow.org/posts/479611

วนิดา เสร็จกิจ. (2563). การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนในบริบทของการพัฒนาประเทศ. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 8(1), 73-98.

วราภรณ์ พันธุ์พวก. (2524). การใช้ระบบอาสาสมัครในการให้บริการงานแผนครอบครัวชุมชน ของสำนักงานบริการวางแผนครอบครัวชุมชน ในเขตภาคเหนือของประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วุฒิสาร ตันไชย. (ม.ป.ป.). การกระจายภารกิจหน้าที่ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคใหม่. สืบค้นจาก http://www.local.moi.go.th/webst/botfam1.htm

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงดาว. (2563). แผนพัฒนาหมู่บ้าน ประจำปี พ.ศ.2564-2565. เชียงใหม่: สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเชียงดาว.

สิทธิชัย ตันศรีสกุล. (2553). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาชุมชนยั่งยืน กรณีศึกษาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดมหาสารคาม. วารสารช่อพะยอม, 21(1), 51-68.

อรัญ จิตตะเสโน, สุภาคย์ อินทองคง, และ พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. (2555). หลักการพัฒนา 5 ประการ. ใน สุภาคย์ อินทองคง (บก.). หลักการและวิธีการบริหารจัดการชุมชน (Principle of Community Administrator and Management) (น. 28). สงขลา: คณะทำงานจัดการองค์ความรู้ในโครงการวิจัยและพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่สุขภาวะองค์รวม.

อรัญ จิตตะเสโน. (2555). หลักและวิธีการบริหารจัดการชุมชน. สืบค้นจาก https://songkhlahealth.org/upload/forum/principle_of_community_administrator_and_management.pdf

อรุณ รักธรรม. (2531). การบริหารบุคคลในระบบราชการไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์.

เอกรินทร์ รักษามั่น. (2563). กระบวนการในการจัดทำแผนชุมชนให้มีคุณภาพ กรณีศึกษาสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอบ้านนาเดิม สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเคียนซา สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฏร์ธานี. วารสารสังคมสงเคราะห์ศาสตร์, 28(1), 235-250.