พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมกับประสิทธิภาพการบริการสาธารณะ ของเทศบาลตำบลวังวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง

Main Article Content

วัฒนา นนทชิต
ชนิกานต์ ทุมสิทธิ์
ณัฐพร ใจแข็ง
กรรณิการ์ ดีเบา
ต่วนซูไฮลา นิพร่อน
ธัญลักษณ์ ฮึ่งฮก
เอื้อการย์ พงษ์นยศาสตร์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมและระดับประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะของเทศบาลตำบลวังวิเศษ ตลอดจนศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมกับประสิทธิภาพการบริการสาธารณะเทศบาลตำบลวังวิเศษ จังหวัดตรัง การวิจัยครั้งนี้เป็นรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษามีกลุ่มเป้าหมายเป็นบุคลากรในเทศบาลตำบลวังวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรัง จำนวน 69 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน


ผลการศึกษาพบว่า 1) บุคลากรในเทศบาลตำบลวังวิเศษ อำเภอวังวิเศษ จังหวัดตรังมีระดับพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรอยู่ในระดับมาก 2) ประสิทธิภาพการบริการสาธารณะของเทศบาลตำบลวังวิเศษอยู่ในระดับมาก และ3) การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมที่มีความสัมพันธ์ต่อประสิทธิภาพการบริการสาธารณะเทศบาลตำบลวังวิเศษอยู่ในระดับมาก การทดสอบสมมติฐาน พบว่า พฤติกรรมเชิงนวัตกรรมมีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริการสาธารณะเทศบาลตำบลวังวิเศษ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะด้านโครงสร้างพื้นฐานและการบริการสาธารณะด้านการพัฒนาเศรษฐกิจที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมเชิงนวัตกรรม  สำหรับแนวทางการบริหารจัดการพฤติกรรมเชิงนวัตกรรมของบุคลากรในเทศบาลตำบลวังวิเศษให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า การจัดการและควบคุมพฤติกรรมของบุคลากรในเทศบาลตำบลวังวิเศษให้อยู่ในกฎระเบียบและข้อบังคับ จะส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพการให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ประเวช ชุ่มเกสรกูลกิจ, และ ศจีมาจ ณ วิเชียร. (2561). พฤติกรรมสร้างนวัตกรรมในการทำงาน แนวคิด ปัจจัยเชิงสาเหตุ ความท้าทาย. วารสารพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการพัฒนา, 10(1), 24-41.

ศิวพร โปรยานนท์. (2554). พฤติกรรมของผู้นำและสภาพแวดล้อมการทำงานที่ส่งผลต่อความคิดสร้างสรรค์ในงานบุคลากร: กรณีศึกษาองค์การธุรกิจไทยที่มีวัตกรรมยอดเยี่ยมปี 2552 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

Burgoyne, J. (1993). The Competence Movement: Issues, Stakeholders and Prospects. Personnel Review, 22(6), 6-13.

Horth, D. M., & Buchner, D. (2009). Innovation Leadership: How to use innovation to lead effectively, work collaboratively and drive results: Centre for Creative leadership. Retrieve from https://innovationstarterbox.bg/wp-content/uploads/2014/10/InnovationLeadership.pdf

Jong, D. (2007). How Leaders Influence Employees' Innovative Behavior. European Journal of Innovation Management, 10(1), 41-64.

Mclagan, P. (1997). Competencies: The next generation. Training and development, 51(5), 40-47.

Rogers, E. M. (1983). Diffusion of innovations. New York, NY: Free Press.

Sternberg, R., & Kolligian, J., Jr., (1990). Competence Considered. New Haven: Yale University Press.