ความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจฐานรากสู่แนวทางความยั่งยืน ภาคเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอความเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจฐานรากที่สัมพันธ์กับการพัฒนาตามยุคสมัย และเสนอแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสารในขอบเขตพื้นที่ภาคเหนือ ผลการวิเคราะห์พบว่า เศรษฐกิจฐานรากภาคเหนือแต่ละยุคสมัยเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจระดับประเทศ ปัจจัยสำคัญของการเปลี่ยนแปลง คือ นโยบายการค้าระหว่างประเทศและรูปแบบการปกครองซึ่งส่งผลต่อการกำหนดนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อีกทั้งยังพบการปรับตัวของชุมชนเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจโดยการรวมกลุ่มปกป้องทรัพยากรการผลิต การอนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อสร้างรายได้ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อม ในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน ควรมุ่งเน้นการเสริมสร้างขีดความสามารถของชุมชนในการจัดการกับปัญหาเศรษฐกิจตนเองอย่างเท่าทันความเปลี่ยนแปลง และควรสนับสนุนเศรษฐกิจแบบพึ่งตนเอง โดยเน้นการพึ่งพาทุนทรัพยากรในชุมชนเป็นหลัก และสร้างระบบเศรษฐกิจแบบหมุนเวียนภายในชุมชน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
คณะกรรมการบูรณาการนโยบายพัฒนาภาค. (2562). แผนพัฒนาภาค พ.ศ.2560-2565 (ฉบับทบทวน). สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=9844
คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (บรรณาธิการ). (2559). คู่มือ การส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพฯ: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
จิราภรณ์ สถาปนะวรรธนะ. (2546). เศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคเหนือตอนล่างลักษณะ พัฒนาการ และการปรับตัว. กรุงเทพฯ: สร้างสรรค์.
จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา. (2552). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับการเพิ่มความสมดุลในการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์.
ธเนศ ศรีวิชัยลำพันธ์. (2556). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นจาก http://mis.econ.cmu.ac.th/teacher/thanes/files/Book2013.pdf
เบญจพรรณ ชินวัตร, ฉลาดชาย รมิตานนท์, และ เบญจวรรณ ทองศิริ. (2535). วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่าภาคเหนือตอนล่าง. ใน เจิมศักดิ์ ปิ่นทอง (บก.), วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า (น. 112-116). กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.
ประภาพรรณ ไชยานนท์. (2553). การประยุกต์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจรายย่อยและวิสาหกิจขนาดเล็กในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราขภัฎเชียงราย, 5(1), 53-81.
ประภาส ปิ่นตบแต่ง. (2558). การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจการเมืองในชุมชนชนบทและการปรับตัวของชาวนา. วารสารพัฒนาสังคม, 17(1), 29-63.
ภัทรธิดา วัฒนาพรรณกิติ. (2559). การปรับตัวต่อการเปิดเสรีทางการค้าในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนของผู้ประกอบการธุรกิจเซรามิค จังหวัดลำปาง. พิฆเนศวร์สาร, 12(2), 125-138.
รัตนาพร เศรษฐกุล. (2546). หนึ่งศตวรรษเศรษฐกิจชุมชนหมู่บ้านภาคเหนือ (พ.ศ. 2442-2542). กรุงเทพฯ: บริษัท สร้างสรรค์ จำกัด.
วีระศักดิ์ สมยานะ. (2562). การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรบนฐานเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารวิจัยราชภัฎเชียงใหม่, 20(2), 14-27.
สรัสวดี อ๋องสกุล. (2544). ประวัติศาสตร์ล้านนา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: อมรินทร์.
สุธี ประศาสน์เศรษฐ. (2556). วิวัฒนาการระบบเศรษฐกิจไทยในรอบ 200 ปี. วารสารเศรษฐศาสตร์การเมืองบูรพา, 1(1), 23-49.
สุวิชาญ ทุนอินทร์, พหล ศักดิ์คะทัศน์, สุรชัย กังวล, และ ธรรมพร ตันตรา. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการจัดการเพื่อการดำรงอยู่ของหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบในภาคเหนือตอนบน. วารสารวิจัยและส่งเสริมการเกษตร, 36(1), 68-74.
บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์, โสภารัตน์ จารุสมบัติ, วิจิตร กุลเดชคุณา, และ นนท์ นุชหมอน. (2556). จับกระแส Rio+20 สู่สังคมไทย (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.
Hirsch, P., Beck, T., Bishop, P., Codrington, S., Connell, J., Davenport, S.,…Overton, J. (1991). Asia pacific focus: people and environmental in change. Milton, Old: Jacaranda Press.
Marchak, M. P. (1997). Logging the globe. Canada: McGill-Queen’s University Press.
Roosa, S. A. (2020). Sustainable development handbook (2nd ed.). Denmark: River.