การจัดการออร์แกนิคฟาร์มสเตย์เพื่อรองรับตลาดนักท่องเที่ยว เฉพาะกลุ่มสนใจในบ้านปางเติม อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

บงกชมาศ เอกเอี่ยม
ธรณินทร์ เสนานิมิตร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ในการรองรับตลาดนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มสนใจในบ้านปางเติม อำเภอสะเมิง จังหวัดชียงใหม่ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสังเกต สัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่มกับผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว ชาวบ้านปางเติม รวมถึงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวในอำเภอสะเมิง  


ผลการวิเคราะห์การตลาด 4Ps พบว่า สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ของออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ที่บ้านปางเติมเหมาะสมกับนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มสนใจซึ่งเป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ต้องการมาพักผ่อน สัมผัสกับธรรมชาติ เรียนรู้วิถีพุทธ วิถีชีวิตดั้งเดิมของชุมชนท้องถิ่นไทย การทำเกษตรอินทรีย์ และเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ที่แตกต่างไปจากประเทศต้นทาง และแม้ว่าสถานที่ของฟาร์มอาจอยู่ห่างไกล เดินทางไปมาลำบาก แต่นักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มสนใจเห็นว่าเป็นเรื่องท้าทายในการเข้าถึงฟาร์ม ส่วนราคาค่าที่พักรวมอาหาร 3 มื้อค่อนข้างย่อมเยา ทางฟาร์มมีการเลือกวิธีการส่งเสริมการตลาดโดยสื่อสารจุดขายของออร์แกนิคฟาร์มให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าตลาดเฉพาะกลุ่มด้วยการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับวิถีชุมชนและออร์แกนิคฟาร์มผ่านระบบสื่อออนไลน์ที่ทันสมัย นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เห็นว่ากิจกรรมและการบริการของฟาร์มเหมาะสมดี ส่วนชาวบ้านปางเติมมีความยินดีต้อนรับและได้รับประโยชน์จากนักท่องเที่ยวที่เข้ามาทำงานอาสาสมัครภายในชุมชน ร้านค้าได้ทำมาค้าขาย คนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว 


สำหรับแนวทางการจัดการออร์แกนิคฟาร์มสเตย์ที่เหมาะสมสอดคล้องกับความต้องการของนักท่องเที่ยวเฉพาะกลุ่มสนใจและชาวบ้านในชุมชนที่สามารถนำไปปรับใช้กับกิจการฟาร์ม สเตย์อื่นๆ คือ ผู้ประกอบการฟาร์มควรสร้างกิจกรรมที่หลากหลาย สร้างสัมพันธ์อันดีและความคุ้นเคย แนะนำให้นักท่องเที่ยวได้รู้จักกับชาวบ้านในชุมชน ควรเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ของฟาร์มมากขึ้น และควรกำหนดข้อควรปฏิบัติให้สอดคล้องกับวิถีชุมชน นอกจากนั้น ทุกฝ่ายต้องร่วมกันรักษาวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิม และควรมีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรแบบฟาร์มสเตย์ และออร์แกนิคฟาร์มสเตย์อย่างเป็นรูปธรรม ตลอดจนกระตุ้นให้ให้ชาวบ้านเกิดความตื่นตัวในการร่วมพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). โครงการศึกษาตลาดนักท่องเที่ยวความสนใจเฉพาะ: กลุ่มรักษาพยาบาล กลุ่มสุขภาพความงาม กลุ่มกอล์ฟ กลุ่มการแต่งงานและฮันนีมูน และกลุ่มการท่องเที่ยวเชิงนิเวศและชุมชน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มาร์เก็ต ไวส์.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. 2559. กลยุทธ์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวกลุ่มสนใจเฉพาะ. TAT Review, 2(4), 12-31.

กองวิจัยการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.). (2559). Customize Your Experience กลยุทธ์ดึงดูดใจนักท่องเที่ยวกลุ่มสนใจเฉพาะ. TAT Tourism Journal, 4(2016), 32-49.

ฉันทัช วรรณถนอม. (2552). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: วิรัตน์เอ็ดดูเคชั่น.

ทัศนีย์ นาคเสนีย์, บุญงอกงาม เอี่ยมศรีปลั่ง, และ เบญจพร แย้มจ่าเมือง. 2564. การสร้างเครือข่ายทางการท่องเที่ยวเพื่อหาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพการจัดการธุรกิจด้านการท่องเที่ยวของกลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำแม่กลอง. สืบค้นจาก http://www.elfhs.ssru.ac.th/benjaporn_ya/file.php/1/_-_._56_.pdf

เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2552). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนบนฐานแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

ธนพฤกษ์ ชามะรัตน์, ดุษฎี อายุวัฒน์, และอรนัดดา ชิณศรี. (2554). หมุดยึดคนกระจาย: เครือข่ายทางสังคมของนายหน้า แรงงานอีสาน. วารสารลุ่มน้ำโขง, 7(3), 27-52.

นพชัย ฟองอิสสระ. (2559). รูปแบบการสร้างเครือข่ายทางสังคมของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและโฮมสเตย์กลุ่มชาติพันธุ์อาข่าบ้านสองแควพัฒนา ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 15-41.

นิคม จารุมณี. (2544). การท่องเที่ยวและการจัดการอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์. โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์.

บงกชมาศ เอกเอี่ยม. (2546). ทุนสังคม: ความหมายและกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเครือข่ายสังคมกับการพัฒนาชุมชน. วารสารส่งเสริมและพัฒนา, 13(1), 14-17.

ภัทรพงศ์ อินทรกำเนิด, ภูมิพร ธรรมสถิตย์เดช, รุ่งโรจน์ กลมเดชเดชา, และ ธนพนธ์ ตั้งตระกูล. (2553). ระบบนวัตกรรมรายสาขาเพื่อพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานความรู้และเชิงสร้างสรรค์: กรณีศึกษาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.

รัชฎาพร บุญเรือง. (2564). การท่องเที่ยวเชิงเกษตรของชุมชนบ้านวังไทรมาบช้าง ตำบลบ้านนา อำเภอบ้านนา จังหวัดนครนายก. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(3), 404-419.

ลัดณา ศรีอัมพรเอกกุล และ ธีระวัฒน์ จันทึก. (2561). การท่องเที่ยวคุณภาพเพื่อนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 4(1), 12-28.

ศิรินภา ขาวผ่องอำไพ. 2550. วิธีปฏิบัติที่ดีและความเชื่อมโยงกับชุมชนในการจัดการท่องเที่ยวแบบฟาร์มสเตย์ กรณีศึกษา: สินมานะฟาร์มสเตย์ อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศุภมาส แหวนวิเศษ และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2560). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในกระบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนต้นแบบ การจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาตำบลน้ำเชี่ยว จังหวัดตราด. วารสารธรรมศาสตร์, 36(1), 66-95.

สิริสุตานุยุตม, พระครู, พระใบฎีกา ธวัชชัย, จันทรัสม์ ตาปูลิง, และ จักรพงค์ เพ็ญเวียง. (2560). การเสริมสร้างเครือข่ายการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัด และชุมชนในล้านนา (รายงานการวิจัย). ลำพูน: มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน.

สุรีย์ จันทรโมลี, วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์, ทิพย์สุคนธ์ ศรีลาธรรม, และ ศิริวรรณ วิเศษแก้ว. (2561). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรสุขภาพ อำเภอบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วารสารกรมการแพทย์, 43(6), 126-131.

Benur, A. & B. Branwell. (2015). Tourism Product Development and Diversification in. Destinations. Tourism Management, 50(October), 213-224.