การจัดการความขัดแย้งด้วยการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน: กรณีบ้านทับทิมสยาม 07 ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษและบ้านหน้าทับ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

ชลัท ประเทืองรัตนา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน 2) ศึกษากระบวนการจัดการความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน บทความวิจัยเชิงคุณภาพนี้ ใช้การสนทนากลุ่ม สัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมร่วม มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย ผู้นำชุมชนที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ภาคประชาสังคม และผู้นำศาสนารวมถึงประชาชนทั่วไปในชุมชน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้หลักการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเชื่อมโยงแนวคิดกับปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามีความสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร


ผลการวิจัยพบว่า 1) บริบททั่วไปที่เกี่ยวข้องกับความขัดแย้งและการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชุมชน ทั้งสองแห่งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมมีทั้งความเหมือนและความแตกต่าง 2) ความขัดแย้งในชุมชนทั้งสองแห่งไม่ได้เป็นความขัดแย้งยืดเยื้อด้านชาติพันธุ์ที่จะมีโอกาสลุกลามขยายตัวกลายเป็นความรุนแรงได้มากขึ้น แต่เป็นความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ เรื่องของอารมณ์ความรู้สึก ขั้นตอนของการไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งสองพื้นที่ แบ่งได้เป็นขั้นตอนก่อนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการจัดการความขัดแย้ง ขั้นตอนระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท โดยเชิญคู่กรณีมาที่บ้านของผู้นำ และขั้นตอนภายหลังการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท มีการติดตามผลภายหลังการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท การไกล่เกลี่ยข้อพิพาททั้งสองแห่ง มีการบูรณาการที่เชื่อมโยงการทำงานระยะสั้น กลางและยาว ไม่ใช่เพียงแต่ได้บันทึกข้อตกลงเท่านั้น และมีทั้งการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เชื่อมโยงกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในวงกว้าง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โครงการทับทิมสยาม 07. (2564). โครงการทับทิมสยาม 07 ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์อัคราชกุมารี ตำบลบักดอง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. สืบค้นจาก http://www.sisaket.go.th/think/think_07.html

บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ, ปาริชาติ วิสุทธิสมาจาร, และ เทพกร ณ สงขลา. (2547). การจัดการความขัดแย้งในท้องถิ่น กรณีศึกษา: เชื่อมต่อลุ่มน้ำปากพนังและทะเลสาบสงขลา (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

วิชัย กาญจนสุวรรณ. (2547). การจัดการความขัดแย้งในท้องถิ่น: กรณีศึกษาอุทยานแห่งชาติ ทะเลบัน จังหวัดสตูล. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สถาบันพระปกเกล้า นักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูงการเสริมสร้างสังคมสันติสุขรุ่นที่ 4. (2555). สันติสุขเกิดได้ ภายใต้ความแตกต่าง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา. (2564). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา พ.ศ.2556 – 2560. สืบค้น จาก https://www.thasala.go.th/datacenter/detail.php?news_id=628

องค์การบริหารส่วนตำบลบักดอง. (2564). รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปีของนายก องค์การบริหารส่วนตำบลบักดอง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. ศรีสะเกษ: องค์การบริหารส่วนตำบลบักดอง.

อุดม บัวศรี, และ ชอบดี สวนโคก. (2546). เจ้าโคตร: การระงับความขัดแย้งในวัฒนธรรมอีสาน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

Forester, John. (2009). Dealing with Differences: Dramas of Mediating Public Disputes. Oxford: Oxford University Press.

Ibrahim Abdi, Dekha, & Mason, Simon J.A. (2019). Mediation and Governance in Fragile Contexts: Small Steps to Peace. London: Kumarian Press.

Moore, Christopher. (2014). The Mediation Process: Practical Strategies for Resolving Conflict. New York, NY: John Wiley & Sons Inc.

Nicholson, David. (2010). Environmental Dispute Resolution in Indonesia. Boston: Brill Publishing.