แนวทางการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี บ้านหนองกระดูกเนื้อ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์

Main Article Content

กฤษณะ ดาราเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทุนทางสังคมของบ้านหนองกระดูกเนื้อ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมการดำเนินงานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และนำเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี “ตลาดมีแดก” บ้านหนองกระดูกเนื้อ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์    เก็บข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร รายงาน การสังเกตการณ์ในพื้นที่ และการสัมภาษณ์เชิงลึกจาก  ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี จำนวน 18 คน


ผลการศึกษาพบว่า 1) ทุนทางสังคมของชุมชน คือ อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมลาวครั่ง      การพึ่งตนเอง และการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) จุดแข็งของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี      คือ การบูรณาการวัฒนธรรมของชุมชนกับการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ที่น่าสนใจ การออกแบบตกแต่งสถานที่อย่างสวยงาม แต่อย่างไรก็ตาม ผลิตภัณฑ์ชุมชน การประชาสัมพันธ์ และการบริหารจัดการยังคงเป็นจุดอ่อนที่ควรได้รับการพัฒนา นอกจากนี้ การแข่งขันของตลาดการท่องเที่ยว และสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 เป็นความท้าทายที่สำคัญในการบริหารจัดการของชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี และ 3) แนวทางในการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ประกอบด้วย (1) การประยุกต์วิถีชุมชนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว (2) การพัฒนาความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการส่งเสริมการท่องเที่ยว (3) การตกแต่งสภาพแวดล้อมเพื่อเป็นจุดถ่ายภาพของนักท่องเที่ยว (4) การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ และการจัดโซนของตลาดชุมชน (5) พัฒนาการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคม Online 6) พัฒนาการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน (7) พัฒนามาตรการป้องกันการแพร่ระบาด COVID-19 (8) การจัดทำยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวของชุมชน และ (9) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเยาชนในการท่องเที่ยวของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). คู่มือบริหารโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี. กรุงเทพฯ: กระทรวงมหาดไทย.

นกยูง อนุสุเรนทร์, และ กฤชวรรธน์ โล่วัชรินทร์. (2562). การประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีภายใต้โครงการไทยนิยม ยั่งยืน ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 205-221.

พุทธธิดา มากพูน. (2562). ทุนทางสังคมกับการการจัดการการท่องเที่ยวด้านวัฒนธรรมชุมชนไทยจีน บ้านชากแง้ว จังหวัดชลบุรี. วารสาร มจร. มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์. 5(1), 247-258.

พระปลัดประพจน์ อยู่สำราญ, และ รัชฎาพร เกตรนนท์ แนวแห่งธรรม. (2561). การพัฒนารูปแบบการจัดการทุนทางสังคมเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 187-199.

พระวรชัด (ทะสา), ศักดิ์ดา ต้นคชสาร, และ เรืองฤทธิ์ คงอยู่. (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการส่งเสริมการท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถีชุมชน. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 5(1), 248-256.

เพ็ญศรี ฉิรินัง, อรุณ รักธรรม, และ สมพร เฟื่องจันทร์. (2563). ความพร้อมในการเป็นชุมชนท่องเที่ยว OTOP นวัตวิถี ของชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 392-406.

ภาศิณี โกมลมิศร์, ปัณณวิชญ์ แสงหล้า, และ ชัญญ์ชญา ธรรมาเวทย์. (2562). การพัฒนานวัตวิถีชุมชนกับแผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับที่ 12. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตร์ปริทรรศน์, 6(1), 77–90.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2563). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ 4 ปี (พ.ศ.2561-2564). นครสวรรค์: สำนักงานจังหวัดนครสวรรค์.

Baker, Wayne E. (1990). Market Networks and Corporate Behaviour. American Journal of Sociology, 96(3), 589-625.

Bourdieu, P. (1977). Outline of a Theory of Practice. Cambridge: Cambridge University Press.

Putnam, R. (1993). The Prosperous Community-Social Capital and Public Life. American Prospect, 13, 35-42.

Uslaner, Eric M. (2001). Volunteering and social capital: how trust and religion shape civic participation in the United States. In Uslaner, Eric M. (Ed.) Social Capital and Participation in Everyday Life (pp. 104-117). London: Routledge.