ประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตาบลในอาเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ณัฐดนัย นันตา
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษี 2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษี และ 3) ศึกษาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) เจ้าหน้าที่งานจัดเก็บภาษี 2) สมาชิกสภาท้องถิ่น และ 3) ประชาชนที่ชำระภาษี เขตเทศบาลตำบลในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษี โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{x}  = 4.07, S.D. = 0.48) เรียงลำดับตามระดับความคิดเห็นเฉลี่ย ได้แก่ สามารถจัดเก็บภาษีได้ทันตามระยะเวลาที่กำหนด ( gif.latex?\bar{x}  = 4.16, S.D. = 0.66) ค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานในการจัดเก็บภาษีมีความคุ้มค่ากับรายได้ที่จัดเก็บภาษี ( gif.latex?\bar{x}  = 4.11, S.D. = 0.58) หน่วยงานของท่านมีลูกหนี้ที่ค้างชำระภาษีน้อยลง (gif.latex?\bar{x}  = 4.03, S.D. = 0.57) และจัดเก็บภาษีแต่ละประเภทได้ตรงตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ (gif.latex?\bar{x}  = 3.97, S.D. = 0.59) ตามลำดับ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เรียงลำดับปัจจัยอิทธิพลเชิงสาเหตุมากไปหาน้อย คือ ด้านการยึดหลักการภาษี และด้านนโยบายภาษี โดยมีอิทธิพลเชิงสาเหตุเท่ากับ 0.268 และ 0.226 ตามลำดับ


ข้อเสนอแนะแนวทางในการเพิ่มประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีของเทศบาลตำบลในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ คือ 1) ด้านการยึดหลักการภาษี คือ เทศบาลจัดเก็บภาษีในอัตราที่เป็นธรรมไม่เลือกปฏิบัติ และหลักความแน่นอน เทศบาลได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บที่รัดกุมและแน่นอน อาทิเช่น มีการแจ้งเตือนผู้เสียภาษี มีช่วงเวลาที่ต้องชำระที่ชัดเจน การระบุช่องทาง หรือ สถานที่ต้องไปชำระชัดเจน มีการระบุอัตราภาษีที่ต้องชำระชัดเจน มีการระบุโทษที่จะได้รับหากหลีกเลี่ยง หรือ เสียภาษีล่าช้ากว่ากำหนด เป็นต้น 2) ด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดเก็บภาษี คือ การยกระดับงานกาจัดเก็บภาษีให้มีประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาและเตรียมในเรื่องของความพร้อมของอุปกรณ์เทคโนโลยี รวมถึงการให้มีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดเก็บภาษีต่อเจ้าหน้าที่จัดเก็บภาษีอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น. (2563). การรับชำระภาษีท้องถิ่นผ่านระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ของ อปท. (e-LAAS). สืบค้นจาก http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2017/9/18793_2_1506330306301.pdf?time=1507094664473.

กรมสรรพากร. (2562). ภาษีอากรตามกฎหมาย. สืบค้นจาก https://www.rd.go.th/5943.html.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เชาวินทร์ กองผา. (2560). ปัญหาและอุปสรรคต่อการจัดเก็บรายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งขวาง อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณัฐพล ใจจริง, และ กฤษณ์ วงศ์วิเศษธร. (ม.ป.ป). สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2563, จาก วิกิสถาบันพระปกเกล้า: http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=ข้อบัญญัติท้องถิ่น

เทศบาลสันทรายหลวง. (2563). ข้อมูลการจัดเก็บภาษี. สืบค้นจาก http://sansailuang.go.th/home.php.

ปิยะวดี จินดาโชติ. (2559). ประสิทธิผลในการจัดเก็บภาษีโรงเรือนในเขตเทศบาลตำบลบางเลน อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารการวิจัยการบริหารการพัฒนา, 8(1), 69-74.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2540). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. สืบค้นจาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2560/A/040/1.PDF

วาสนา เมธาวรากุล. (2559). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีบำรุงท้องถิ่นของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบล กรณีศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิงอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วุฒิสาร ตันไชย. (2562). การกระจายภารกิจหน้าที่ไปสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยุคใหม่. สืบค้นจาก http://www.local.moi.go.th/webst/botfam1.htm.

สาคร บุญส่ง. (2557). ประสิทธิภาพในการจัดเก็บขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต อำเภอท่าม่วงจังหวัด กาญจนบุรี (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, กาญจนบุรี.