ปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 5 กรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562

Main Article Content

ธนภูมิ โภชน์เกาะ

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 5 กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2562 วัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในกรุงเทพมหานครเขต 5 (เขตดินแดง, ห้วยขวาง) 2) เพื่อศึกษาลักษณะทางประชากร ที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง ห้วยขวาง การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร เขตดินแดง ห้วยขวาง จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม จากนั้นนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ วิธีการการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ T-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว


ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 41 – 55 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท/องค์กรเอกชน รายได้ต่อเดือน 15,001 – 30,000 บาท และมีการติดตามข่าวสารทางการเมืองบ้างบางครั้ง มีปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรโดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปน้อยได้ดังนี้ ปัจจัยด้านนโยบาย ปัจจัยด้านกระแสทางการเมือง ปัจจัยด้านคุณสมบัติของผู้สมัคร ปัจจัยด้านพรรคการเมืองและปัจจัยด้านการหาเสียง ผลการทดสอบสมมติฐาน พบว่า เพศไม่มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้งซึ่งไม่เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ ส่วนอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ต่อเดือน และการติดตามข่าวสารทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับปัจจัยที่มีผลต่อการลงคะแนนเลือกตั้ง ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

โกวิท วงสุรวัฒน์. (2540). หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพ: คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ทัศนีย์ ปิยะเจริญเดช. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเพชรบุรี : ศึกษาในห้วงเวลา ปีพ.ศ.2559. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

นิพิฐพนธ์ สนิทเหลือ, วัชรีพร สาตรีเพ็ชร์, และ ญาดา นภาอารักษ์. (2562). การคำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป G*POWER. วารสารวิชาการ สถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 5(1), 496-507.

บัณฑิต ภู่กิ่งหิน. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดชลบุรี : ศึกษาในห้วงเวลาปี พ.ศ. 2558. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

ปิยะรัตน์ สนแจ้ง. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานคร ปี พ.ศ. 2562. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2563). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: สหายบล็อกและการพิมพ์.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). คู่มือประชาชนรณรงค์เผยแพร่การเลือกตั้ง ส.ส.. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ระบบการเลือกตั้งแบบใหม่ : แบบจัดสรรปันส่วนผสม. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สมเกียรติ วันทะนะ. (2558). ระบอบประชาธิปไตยเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอ่างทอง : ศึกษาในห้วงเวลา ปี พ.ศ. 2559. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

อิทธิ์ณณัฎฐ์ หงส์ชูเวช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร : ศึกษากรณีประชาชนกรุงเทพมหานครในการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกริก, กรุงเทพฯ.

Jamieson, S. (2013). Likert Scale. Retrieved from https://www.britannica.com/topic/Likert-Scale