ความเหินห่างทางการเมืองของประชาชนในเขตบางขุนเทียนในยุครัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปี พ.ศ. 2563
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความเหินห่างทางการเมือง ของประชาชนในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบความเหินห่างทางการเมืองของประชาชนในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารทางการเมืองกับความเหินห่างทางการเมือง ของประชาชนในเขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนในเขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 305 คน เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสอบถาม 2) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้แก่ 1) ค่าสถิติ 2) ร้อยละ 3) ค่าเฉลี่ย 4) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 5) การทดสอบค่าที 6) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และ 7) ค่าสัมประสิทธิ์สหพันธ์แบบเพียร์สัน ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ครั้งนี้ กำหนดไว้ที่ระดับ 0.05
ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนในเขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร มีความเหินห่างทางการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง และมีการรับรู้ข่าวสารการเมืองอยู่ในระดับปานกลาง จากการทดสอบสมมติฐานพบว่า อายุและรายได้ต่อเดือน แตกต่างกันมีความเหินห่างทางการเมืองแตกต่างกัน ส่วนประชาชนที่มีเพศ อาชีพ และระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความเหินห่างทางการเมืองไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 นอกจากนี้การรับรู้ข่าวสารการเมืองมีความสัมพันธ์กับความเหินห่างทางการเมือง ของประชาชนในเขตบางขุนเทียน จังหวัดกรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กวีวัจน์ ชนะเลิศ. (2547). ความเหินห่างทางการเมืองของชนชั้นกลางไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จรัส ตั้งวงศ์ชูเกตุ. (2545). ความเหินห่างทางการเมือง: ศึกษาเฉพาะกรณีนิสิตปริญญาตรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
เจฏิกา เอกแสงศรี. (2539). ความเหินห่างทางการเมืองของคนกรุงเทพมหานคร: ศึกษากรณีการบริหารราชการของรัฐบาลนายชวน หลีกภัย ระหว่าง มีนาคม 2536 - มีนาคม 2538 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
ธีรพล เกษมสุวรรณ. (2529). ความรู้สึกเมินห่างทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง ในกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2561, 23 มิถุนายน). นิตยสาร “ไทม์” เปรียบ “ประยุทธ์” เป็น “สฤษดิ์น้อย”. ประชาชาติธุรกิจ. สืบค้นจาก https://www.matichon.co.th/politics/news_1010869