อิทธิพลของการปรับตัวจากผลกระทบโควิด-19 ที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

รัตนากรณ์ ภู่เจนจบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การปรับตัวของแรงงานนอกระบบจากผลกระทบโควิด 19 ในเขตอำเภอเมืองสงขลา 2) คุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบจากผลกระทบโควิด 19 ในเขตอำเภอเมืองสงขลา และ 3) การปรับตัวจากผลกระทบโควิด-19 ที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ แรงงานนอกระบบในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา จำนวน 600 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้สถิติอนุมานวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ


 


ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านการปรับตัวจากผลกระทบโควิด-19 ของแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนปัจจัยด้านคุณภาพชีวิต ของแรงงานนอกระบบในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสงขลา โดยรวมอยู่ในระดับมาก และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ พบว่า การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่มีความสัมพันธ์และมีอิทธิพลเชิงบวกกับคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบมากที่สุด รองลงมาคือด้านร่างกาย ด้านการพึ่งพาระหว่างกัน และด้านอัตมโนทัศน์ ตามลำดับ ปัจจัยทั้ง 4 ด้านมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการปรับตัวของแรงงานนอกระบบจากการเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์โควิด-19 พร้อมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมโรค. (2563). สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) มาตรการสาธารณสุขและปัญหาอุปสรรคการป้องกันควบคุมโรคในผู้เดินทาง. สืบค้นจาก https://ddc.moph.go.th/uploads/files/2017420210820025238.pdf

กรมสุขภาพจิต. (2559). เครื่องมือชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/test/whoqol/

กัลยา วาณิชย์บัญชา, และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2561). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 31). กรุงเทพฯ: สามลดา.

ณัฏยาณี บุญทองคำ, พระครูปลัดสุวัฒนพุทธิคุณ, และ สุเทพ ดีเยี่ยม. (2563). คุณภาพชีวิตที่ดีตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงภายใต้ภาวะโรคระบาด “โควิด-19”. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 6(4), 235-246.

เดอะสแตนดาร์ดทีม. (2562). UN ชี้โควิด-19 กระทบแรงงานนอกระบบไทยมากที่สุด คาดจำนวนแรงงานยากจนเพิ่มขึ้น. สืบค้นจาก https://thestandard.co/un-say-coronavirus-effect-thai-informal-labor-the-most/

นงลักษณ์ โตบันลือภพ, ธีรารัตน์ บุญกุณะ, บุศรินทร์ ผัดวัง, และ จิตตวีร์ เกียรติสุวรรณ. (2564). การรับรู้ ทัศนคติ และความรู้ต่อมาตรการการเว้นระยะห่างทางสังคมและผลต่อการปฏิบัติตัวตามมาตรการ สุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตของประชาชน ในจังหวัดลำปาง ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19. วารสารวิชาการสุขภาพภาคเหนือ, 8(1), 168-184.

นิภาพรรณ เจนสันติกุล. (2563). แรงงานในสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา (COVID-19) : มาตรการของรัฐบาลและผลกระทบ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 3(3), 601-612.

นิลญา อาภรณ์กุล, และ ศิริลักษณ์ ศุภปิติพร. (2560). การปรับตัวและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปรับตัวของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 1. จุฬาลงกรณ์เวชสาร, 61(5), 631-645.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

วรรณิภา สูงสุมาลย์, และ พิมพ์ชนก ไพรีพินาศ. (2564). การปรับตัวของแรงงานนอกระบบภายใต้วิกฤตทางสังคมจากการเกิดโรคระบาด ไวรัสโควิด 19 กรณีศึกษา กลุ่มคนขับรถรับจ้าง อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. Journal of Modern Learning Development, 6(6), 155-169.

สำนักงานแรงงานจังหวัดสงขลา. (2564). รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดสงขลา รายปี 2564 (เดือนมกราคม–ธันวาคม 2564). สืบค้นจาก https://songkhla.mol.go.th/news/รายงานสถานการณ์แรงงานจังหวัดสงขลา-รายปี-2564-เดือนมกราคม-ธันวาคม-2564

เสาร์วลักษณ์ โคตรมิตร, และ สุวรี ฤกษ์จารี. (2559). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม การปรับตัว และคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 10(2), 165-170.

อิทธิพล ดวงจินดา, ชวนพิศ ศิริไพบูลย์, และ ศรีสุรางค์ เคหะนาค. (2564). การรับรู้ความสามารถของการดูแลตนเองและพฤติกรรมการป้องกันโรคโควิด-19 กับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 14(4), 109-124.

เอกพิชญ์ ชินะข่าย. (2564). การดำรงชีวิตของผู้สูงวัยร่วมกับคนต่างวัยที่รองรับสังคมสูงวัยอย่างมีพลังในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิทยาลัยบริหารศาสตร์, 4(3), 1-17.

Armstrong, J. S., & Overton, T. S. (1977). Estimating nonresponse bias in mail surveys. Journal of Marketing Research, 14(3), 396-402.

Branje, J., & Morris, A. S. (2021). The Impact of the COVID-19 Pandemic on Adolescent Emotional, Social, and Academic Adjustment. Journal of Research on Adolescence, 31(3), 486-499.

Candeias, A., Galindo, E., Stueck M., Portelada, A., & Knietzsch, J. (2021). Psychological Adjustment, Quality of Life and Well-Being in a German and Portuguese Adult Population During COVID-19 Pandemics Crisis. Retrieved from https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fpsyg.2021.674660/full

Cheng, C., Wang, H. Y., & Ebrahimi, O. (2021). Adjustment to a “New Normal:” Coping Flexibility and Mental Health Issues During the COVID-19 Pandemic. In Lai, J. C., Chang, K.,Rochelle, T. L., Jiang, F., Yu, N. X., Lu, S., & Ng, S. (Eds.), Resilience and Health in the Chinese People During the COVID-19 Outbreak. (pp.127-136). Lausanne: Frontiers Media SA.

Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2018). Multivariate data analysis (8th ed.). New Jersey: Pearson Prentice Hall.

Ping, W., Zheng, J., Niu, X., Guo, C., Zhang, J., Yang, H., & Shi, Y. (2020). Evaluation of health-related quality of life using EQ-5D in China during the COVID-19 pandemic. PLOS ONE, 15(6), 1-12.

Roy, S. C. & Andrews, H. (2009). The Roy adaptation model (3rd ed.). Upper Saddle River, NJ: Pearson.

UNESCO. (1981). Quality of life. An Orientation of Population Education. Bangkok: UNESCO.

World Health Organization. (1996). WHOQOL-BREF : introduction, administration, scoring and generic version of the assessment : field trial version, December 1996. Retrieved from https://apps.who.int/iris/handle/10665/63529