การบริหารจัดการน้ำเสียในชุมชนแบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาเทศบาลนครลำปาง จังหวัดลำปาง

Main Article Content

อนันต์ อุปสอด
สุวรัฐ แลสันกลาง
เอกสิทธิ์ ไชยปิน
พิบูลย์ ชยโอว์สกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัญหาน้ำเสียในชุมชนเทศบาลนครลำปาง  และเสนอแนวทางการบริหารจัดการน้ำเสียในชุมชนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนเทศบาลนครลำปาง  เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการสัมภาษณ์ 12 คน สนทนากลุ่มและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 50 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือแบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม การจัดเวทีชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 


ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาน้ำเสียในชุมชนเจริญประเทศและชุมชนสิงห์ชัย มีสาเหตุจากการทิ้งขยะและปล่อยน้ำเสียจากครัวเรือน ร้านค้า สถานประกอบการต่าง ๆ ที่ขาดการบำบัดน้ำเสียปลายท่อทำให้แม่น้ำส่งกลิ่นเน่าเหม็น ผักตบชวา จอกแหน สาหร่าย และวัชพืช กีดขวางการไหลของน้ำตามธรรมชาติ


แนวทางการบริหารจัดการน้ำเสียในชุมชนแบบมีส่วนร่วม พบว่า ทั้ง 2 ชุมชนมีส่วนที่คล้ายและแตกต่างกันตามบริบทของชุมชน ชุมชนเจริญประเทศ มีแนวทางการบริหารจัดการแม่น้ำวังที่โดดเด่น คือโครงการทำโข่ปลา โดยนำระบบภูมิปัญญาชาวบ้านมาประยุกต์ใช้ ให้โข่ปลาเป็นที่อยู่ของปลา ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้ร่วมอนุรักษ์พันธุ์ปลา และโครงการพิธียอคุณแม่น้ำวัง ให้ความรู้และปลุกจิตสำนึกในคุณค่าของแหล่งน้ำสะอาด นำประเพณีสืบชะตาแม่น้ำ เป็นพิธีกรรมที่สำคัญในการสร้างความตระหนักและอนุรักษ์น้ำแม่วัง


ขณะที่ชุมชนสิงห์ชัย มีแนวทางการบริหารจัดการแม่น้ำวัง ได้แก่จัดทำโครงการเสียงตามสายภายในชุมชนเพื่อรณรงค์ให้ชุมชนและร้านค้าที่อยู่บริเวณแม่น้ำวังไม่ทิ้งของเสียลงสู่แม่น้ำ โครงการสร้างท่าน้ำให้มีชีวิตโดยปรับภูมิทัศน์ให้น่าอยู่น่ามอง ปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่นเป็นสถานที่พักผ่อน และโครงการสร้างจุดถ่ายภาพบริเวณป้ายท่าน้ำสิงห์ชัย บริเวณสะพานแขวน ซึ่งเป็น Land Mark ที่สำคัญ ประเด็นร่วมกันคือประกาศเขตห้ามจับปลา ระยะ 2 กิโลเมตร จากชุมชนสิงห์ชัยและชุมชนเจริญประเทศ ไปถึงเขื่อนยางให้เป็นเขตอนุรักษ์พันธุ์ปลา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมควบคุมมลพิษ. (2552). รายงานประจำปี 2552. กรุงเทพฯ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

นันธิดา จันทร์ศิริ. (2015). การจัดการเครือข่ายในกระบวนการนโยบายสาธารณะ. Asian Journal of Arts and Culture, 15(1), 145–153. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/cjwu/article/view/95361

ปาริชาติ วลัยเสถียร, พระมหาสุทิตย์ อบอุ่น, สหัทยา วิเศษ, จันทนา เบญจทรัพย์, และ ชลกาญจน์ ฮาซันนารี. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ประมาณ เทพสงเคราะห์, จรินทร์ เทพสงเคราะห์, อดิศร ศักดิ์สูง, ศุภการ สิริไพศาล, พรศักดิ์ พรหมแก้ว, และ วรุตม์ นาที. (2556). การจัดการความรู้บนฐานทุนชุมชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน ในพื้นที่ลุ่มทะเลสาบสงขลา. วารสารพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 1(3), 217-231

ศูนย์จัดการคุณภาพน้ำเทศบาลนครลำปาง. (2559). ข้อมูลระบบรวบรวมน้ำเสีย. สืบค้นจาก http://waste.onep.go.th/projectdetail.php?id=364)

สลักจิต พุกจรูญ. (2563). สิ่งแวดล้อมและการจัดการทรัพยากร. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/singwaedlom/hnwy-thi-3-kar-xnuraks-thraphyakrthrrmchati-laea-sing-waedlxm

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2544). มิติชุมชน : วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนาจและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทนุสนับสนุนการวิจัย.

Lovelace, George W. and Rambo, Terry A. (1991) "Behavioral and Social Dimensions" in Easter, K. William Dixon John A. Hufschmidt Maynard M., Editors. Watershed Resources Management - Studies from Asia and the Pacific. Singapore and Honolulu: Institute of Southeast Asian Studies and East-West Center; 1991; pp. 81-90.