การประเมินการจัดการสถานศึกษา อาชีวศึกษาเอกชนประเภทช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานตัวถังและสีรถยนต์ ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0 กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษานอร์ทฝาง

Main Article Content

วรโชติ จี้เรือน
สุริยจรัส เตชะตันมีนสกุล

บทคัดย่อ

การประเมินการจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนประเภทช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาช่างยนต์  สาขางานตัวถังและสีรถยนต์ ภายใต้นโยบายประเทศไทย 4.0  กรณีศึกษาวิทยาลัยอาชีวศึกษานอร์ทฝาง มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระบบการบริหารและการจัดการวิทยาลัยอาชีวศึกษานอร์ทฝาง และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการบริหารและการจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน ด้านการจัดการศึกษา ด้านความถูกต้องความเหมาะสม ความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์  ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสม (Mixed Method) โดยการวิเคราะห์เอกสารและใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูลจากผู้บริหารและนักศึกษาในสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนประเภทช่างอุตสาหกรรมวิทยาลัยอาชีวศึกษานอร์ทฝาง


ผลการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ประกอบด้วยด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า รูปแบบในการจัดตั้ง การบริหาร และการจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชนประเภทช่างอุตสาหกรรมสาขาวิชาช่างยนต์ สาขางานตัวถังและสีรถยนต์ ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 มีความเป็นไปได้มากที่สุด รองลงมาคือ ความเหมาะสม ความสอดคล้อง และความเป็นประโยชน์ของการจัดการสถานศึกษาอาชีวศึกษาเอกชน มีข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย 8 รูปแบบ ดังนี้ 1) การกำหนดแนวทางให้ผู้เรียนด้านตัวถังและสีรถยนต์ให้เป็นกำลังคนมีทักษะความสามารถด้านวิชาชีพที่สำคัญมีสมรรถนะตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ  2) พัฒนาระบบการบริหารจัดการแนวใหม่ให้สอดรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมและมาตรฐานสากล 3) สร้างความเข้าใจและปรับทัศนคติของสังคมให้เห็นความสำคัญของการจัดการอาชีวศึกษา 4) การพัฒนาให้ผู้บริหารใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง 6) จัดทำแผนปฏิรูประบบการบริหารภายในแบบมีส่วนร่วม 7) มีการขับเคลื่อนระบบเครือข่ายการบริหาร ประสานงาน ร่วมมือระหว่างวิทยาลัยที่เปิดสอนช่างยนต์สาขางานตัวถังและสีรถยนต์ในระดับจังหวัด ระดับภาค ระดับสถาบันการอาชีวศึกษาและอุดมศึกษา และ 8) พัฒนากระบวนการติดตามและรายงานผลการดำเนินงาน (Project – Based Management)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

แก้วขวัญ ตั้งติพงศ์กูล. (2555). วิกฤติแรงงานไทย. "เศรษฐ ธรรมศาสตร์ ตลาดวิชา" วารสารเศรษฐศาสตร์ธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 4(13), 1-3.

เฉลียว ศุภษร. (2545). คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่สอดคล้องกับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ตามทัศนะของผู้บริหารครูและศึกษานิเทศก์ สังกัดสํานักงานการประถมศึกษาแห่งชาติจังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์. (2557). เด็กใต้ฮิตเรียนศาสนากว่าสายอาชีพ สอศ.หนักใจเพิ่มยอดยาก. สืบค้นจาก http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9570000041615

ณัฐสิฏ รักษ์เกียรติวงศ์. (2559). การปฏิรูปอาชีวศึกษาของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศ (ทีดีอาร์ไอ).

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

นริศ มหาพรหมวัน. (2561). รูปแบบสมรรถนะผู้นำโรงเรียนเอกชนสู่มาตรฐานสากล. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สมพล ขำจิตร์. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี เพื่อเพิ่มคุณภาพนักศึกษาตามความต้องการกำลังคนระดับอาชีพเทคนิค. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). รายงานประจำปี สอศ. กรุงเทพฯ: พรานนก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560–2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.