การบริหารจัดการมวยไทยเพื่อสร้างประโยชน์ให้แก่ชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

กิติพันธ์ เสาร์แก้ว
ธรรมพร ตันตรา

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสถานการณ์เกี่ยวกับมวยไทยในระดับประเทศและนานาชาติ 2) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการมวยไทยในระดับประเทศและนานาชาติ ที่สร้างประโยชน์ให้กับสังคมชุมชน และประเทศชาติ และ 3) เพื่อศึกษาหาข้อเสนอเชิงการบริหารจัดการมวยไทยเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่


ผลการศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์มวยไทยในประเทศและนานาชาติที่ประกอบด้วยสถานการณ์ของมวยไทยในประเทศ และต่างประเทศพบว่าว่าอยู่ในช่วงซบเซาเพราะเกิดสถานการณ์โรคระบาดโควิด 19 ในส่วนของนโยบายของรัฐพบว่าทุกรัฐบาลที่ผ่านมาให้การสนับสนุน และส่งเสริมมวยไทยมาตลอด รวมถึงมีการแก้ระเบียบกฎหมายเกี่ยวกับมวยไทยให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์ และมีผลบังคับใช้กับทุกภาคส่วนของวงการมวยไทย


ผลการวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการมวยไทยเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม ชุมชน และประเทศชาติประกอบด้วย การบริหารจัดการมวยไทยเชิงเศรษฐกิจ สังคม การศึกษาศิลปวัฒนธรรม สุขภาพอนามัย การบริหารจัดการมวยไทยเชิงฉันทนาการและความบันเทิงเชิงการเมืองและปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการและพัฒนามวยไทยการดำเนินธุรกิจในวงการมวย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลและเอกชน


ผลการวิจัยเกี่ยวกับข้อเสนอที่เป็นแนวทางการบริหารจัดการมวยไทยเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมชุมชนในจังหวัดเชียงใหม่ และประเทศชาติประกอบด้วย การพัฒนาค่ายมวยในชุมชนให้เป็นศูนย์เรียนรู้ การจัดตั้งชมรมมวยไทยท้องถิ่น การสร้างผู้นำชุมชนบนฐานความเป็นนักมวย การสร้างแรงบันดาลใจมวยไทยสู่คนรุ่นใหม่ และการสร้างวิสาหกิจมวยไทยเพื่อสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพลศึกษา ศึกษานิเทศก์. (2541). ประวัติมวยไทย. สืบค้นจากhttp://library.senate.go.th/document/Ext9/9773_0010.PDF

กฤตยา ตติรังสรรค์สุข. (2539). เศรษฐศาสตร์มหภาคเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรวย แก่นวงษ์คำ. (2530). มวยไทย-มวยสากล. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโดร์.

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา. (2547). แนวทางการพัฒนากีฬามวยไทยไปสู่ความเป็นเลิศเพื่อการอาชีพจากการศึกษาแนวทางในการพัฒนา กีฬามวยไทยเพื่อรองรับการเป็นกีฬาสากล. กรุงเทพฯ: สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ชาญณรงค์ สุหงษา. (2545). คู่มือการสอนมวยไทยเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: บรรณกิจ.

ณัฏฐดา ศรีมุข, วิทยา ศิริพันธ์วัฒนา, และ ฐิติยา เนตรวงษ์, (2564). นวัตกรรมรูปแบบธุรกิจ เฟรนไชน์ค่ายมวยไทยเชิงสร้างสรรค์สำหรับสหราชอาณาจักร สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพื่อยกระดับการเรียนรู้และส่งเสริมการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลอันดามัน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสวนดุสิต.

นปภัสร์ ชูสุวรรณ. (2559). ปัจจัยด้านการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความต้องการเดินทางท่องเที่ยวเพื่อมาชมมวยไทยของนักท่องเที่ยวต่างชาติ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

ธรรมพร ตันตรา. (2561). พฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์กรสาธารณะ. เชียงใหม่: สากล พริ้นติ้ง.

พงศ์ธร แสงวิภาค, และ ผกามาศ รัตนบุษย์. (2560). การส่งเสริมศิลปะมวยไทยตามพระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ.2542. วารสารรามคำแหง ฉบับนิติศาสตร์, 6(2), 169-201.

พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2553). ตัวชี้วัดความสุข: กลยุทธ์การสร้างและการใช้เพื่อชุมชนเป็นสุข (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: สถาบันเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข.

โพธิ์สวัสดิ์ แสงสว่าง. (2522). การพัฒนากีฬามวยไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

มงคล คำเมือง. (2532). การศึกษาเกี่ยวกับกีฬามวยไทย (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

วัชระ คำเพ็ง. (2537). แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ของนักมวยไทยอาชีพ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วินัย พูนศรี. (2555). มวยไทย: การจัดการมรดกภูมิปัญญาของชาติไทยสู่รูปแบบธุรกิจสากล(วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ศศิธารา พิชัยชาญณรงค์. (2554). แผนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2550-2554. สืบค้นจาก https://mots.go.th/download/pdf/nationaldevelopmentplan50 _54.pdf

ศิริวรรณ เสรีรัตน์. (2542). การบริหารเชิงกลยุทธ์และกรณีศึกษาฉบับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: บริษัทธีรฟิล์มและไชเล็กซ์.

สมบัติ ธำรงธัญวงค์. (2539). การเมือง: แนวความคิดและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: สุนทรออฟเซ็ท.

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ. (2540). ศิลปะมวยไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.