การเสริมแรงผู้นำสตรีในการพัฒนาสังคมชุมชนของอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบทบาทหน้าที่ของผู้นำสตรีในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ 2) เพื่อศึกษาการเสริมแรงให้ผู้นำสตรีในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการทำงานด้านการพัฒนาสังคมชุมชน เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนา กลุ่มย่อย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ผู้แทนผู้นำสตรีด้านท้องถิ่นท้องที่ ผู้แทนผู้นำสตรีกลุ่มองค์กรชุมชน ผู้แทนผู้นำสตรีปราชญ์ชุมชน ผู้แทนผู้นำสตรีภาคส่วนราชการและเอกชน ผู้แทนภาคประชาชน และผู้แทนภาควิชาการ จำนวนทั้งสิ้น 72 คน
ผลการวิจัยพบว่า การเข้าสู่ตำแหน่งของผู้นำสตรีเป็นท้องถิ่นท้องที่ กลุ่มองค์กรชุมชน และส่วนราชการ เป็นไปตามระเบียบกฎหมาย ส่วนผู้นำสตรีที่เป็นปราชญ์ชุมชนได้จากความเคารพศรัทธาของคนในชุมชน ผู้นำสตรีในยุคปัจจุบันมีโอกาสทำงานเพื่อสังคมชุมชนเพิ่มมากขึ้นกว่าในอดีตและด้วยผลของการได้รับโอกาสในการทำงานจึงให้ผู้นำสตรีบางคนบางกลุ่มสามารถทำงานได้อย่างเต็มศักยภาพ สามาถบริหารจัดการและพัฒนาสังคมชุมชนในท้องถิ่นใน เขตรับผิดชอบได้ดี ก่อให้เกิดการยอมรับของประชาชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในสังคมจึงนำมาสู่การให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมโครงการด้านพัฒนาสังคมชุมชน
ผลการวิจัยยังพบอีกว่า การรับรู้ ความเข้าใจและการให้ความสำคัญเกี่ยวกับการเสริมแรงทางบวก เช่น การยกย่องชมเชย การให้โอกาสในการทำงานรวมถึงการยอมรับความคิดเห็น การให้ค่าตอบแทนพิเศษ การเลื่อนตำแหน่งให้สูงขึ้น และการมีโอการในการทำงานเต็มศักยภาพ รวมถึงการเสริมแรงในทางลบคือ การตำหนิติเตียน และการลงโทษตามระเบียบกฎหมาย ของประชาชน ของสมาชิกกลุ่มองค์กรชุมชนตลอดจนสมาชิกภายในหน่วยงานหรือองค์กรบางส่วน ยังมีค่อนข้างน้อยการดำเนินกิจกรรมโครงการต่าง ๆ ที่ผ่านมาที่เกี่ยวกับการเสริมแรงให้กับผู้นำสตรีอย่างจริงจังและต่อเนื่องยังไม่ปรากฏอย่างเด่นชัด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กมลชนก สัจจาวัฒนา, และ ฉัตรวรัญ อวดสิงห์. (2559). บทบาทของผู้นำสตรีที่ประสบความสำเร็จในอำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2559 (น.919-926). ปทุมธานี: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
จันทร์เพ็ญ ชัยพรสุไพศาล. (2556). ปัจจัยเสริมแรงที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัทโลจิสติกส์แห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
จิรารัตน์ ล่องจ๋า. (2546). การรับรู้สิทธิและบทบาทด้านการเมืองการปกครองของสตรี ตำบลกำแพงเซา อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันราชภัฏนครศรีธรรมราช, นครศรีธรรมราช.
ธนพัฒน์ จงมีสุข. (2556). ศึกษาระดับการยอมรับบทบาทผู้นำสตรีในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, 5(2), 60-74.
ธันยนันท์ ทองบุญตา. (2562). เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้วยการเสริมแรงทางลบ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 5(3), 14-27.
นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤติกรรมองค์การ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พยุง รสใจ. (2554). บทบาทผู้นําสตรีในทางการเมืองการปกครอง: ศึกษากรณีตำบลหนองมะคา โมง อำเภอด่านช้างจังหวัดสุพรรณบุรี. สุพรรณบุรี: สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดสุพรรณบุรี.
พรเพชร วิชิตชลชัย. 2561. วรรณกรรมรางวัลพานแว่นฟ้า ประจำปี 2561. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
พิรญาณ์ บุญญสถิต, และ พัชสิริ ชมภูคำ. (2553). ทัศนคติของผู้ใต้บังคับบัญชาต่อผู้บังคับชาที่เป็นสตรี. วารสารจุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 32(126), 85-105.
รุ่งทิวา เขื่อนแก้ว. (2559). สตรีกับการบริหารจัดการด้านการเมืองการปกครอง กรณีศึกษา: ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.
วันชัย มีชาติ. (2544). พฤติกรรมการบริหารองค์การสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สรัญญา เอกธรรมสิทธิ์. (2549). การวิเคราะห์บทบาทชายหญิงในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยในช่วงชั้นที่ 1 และช่วงชั้นที่ 2 ตามหลักสูตรการศึกษาพื้นฐาน พ.ศ.2544 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สุพรรณ มาตรโพธิ์. (2549). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสตรีในมหาวิทยาลัยของรัฐในเขตกรงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่แนวคิดทฤษฎี. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Michael, A. (2009). Armstrong’s handbook of human resource management practice (11th ed.). London: Kogan Page.
Raymond, J. B. (1972). Fundamental of Leadership Readings. Massachusetts: Addison-Wesley Publishing.
Robbin, P. (2003). Organizational behavior: Concepts controversies and application (10th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.