แนวทางการจัดการต้นทุนทางนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากระยะทางอาหาร กรณีศึกษาเมืองเชียงใหม่

Main Article Content

สิทธิชน ดีแสน
วิทยา ดวงธิมา
นิกร มหาวัน

บทคัดย่อ

ระยะทางอาหารจากผู้ผลิตถึงผู้บริโภคบ่งชี้ถึงต้นทุนทางนิเวศสิ่งแวดล้อม โดยระยะทางใกล้จะมีต้นทุนทางนิเวศสิ่งแวดล้อมต่ำกว่าระยะทางที่ไกลกว่า ในบทความนี้เป็นกรณีศึกษาระยะทางอาหารของประชากรในเมืองเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระยะทางอาหารจากแหล่งผลิตถึงแหล่งบริโภคของเมืองเชียงใหม่และประเมินต้นทุนทางนิเวศสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากระยะทางอาหารของเมืองเชียงใหม่ โดยการเก็บข้อมูลแหล่งที่มาของผลผลิตทางการเกษตร ปริมาณผลผลิตและระยะทางการขนส่งสามารถนำไปคำนวณหาค่าระยะทางอาหารเฉลี่ยถ่วงน้ำหนัก (WASD) เพื่อนำไปคำนวณหาค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG)


ผลการศึกษา พบว่า อาหารของคนเชียงใหม่มีระยะทางอาหารเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเท่ากับ 71.3 กิโลเมตร คิดเป็นอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2.96 tCO2e ในด้านต้นทุนการขนส่งสามารถหาค่าเฉลี่ยต้นทุนการขนส่งอาหารได้เท่ากับ 223.95 บาทต่อตัน การบริโภคอาหารในระยะทางที่ใกล้จากแหล่งผลิตจากการอุดหนุนผลผลิตของตลาดชุมชนหรือการเพาะปลูกเพื่อรับประทานเอง นอกจากจะช่วยลดผลกระทบที่เกิดจากระยะทางอาหาร ยังสามารถช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหารในระดับเมือง ชุมชนและครัวเรือน ทั้งในด้านความเพียงพอ การเข้าถึง การใช้ประโยชน์และเสถียรภาพทางด้านอาหาร ข้อมูลดังกล่าวชี้ให้เห็นถึงสถานการณ์และแหล่งผลิตอาหารที่สำคัญของคนเมืองเชียงใหม่ที่ต้องการมาตรการและแนวทางในการบริหารจัดการเพื่อรักษาและพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ที่เป็นแหล่งอาหารที่สร้างความมั่นคงทางอาหารและรักษาระบบนิเวศสิ่งแวดล้อมของเมืองเชียงใหม่อย่างยั่งยืน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวลี สุธีธร. 2554. ผลกระทบของระยะทางอาหารที่มีต่อรูปแบบอาณานิเวศของแหล่งอาหารของกรุงเทพมหานคร. หน้าจั่ว: ว่าด้วยสถาปัตยกรรม การออกแบบและสภาพแวดล้อม, (26), 71-93.

ดวงมณี โกมารทัต. 2554. การบริหารต้นทุน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิริยา จงรักษ์สัตย์. 2562. การจัดสรรต้นทุนสิ่งแวดล้อมไปยังต้นทุนผลิตภัณฑ์. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 25(2), 130-142.

เบลโล, วอลเดน. 2543. โศกนาฏกรรมสยาม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

ศิลปพร ศรีจั่นเพชร. 2552. การบัญชีสิ่งแวดล้อม. วารสารวิชาชีพบัญชี, 5(12), 21-24.

ศูนย์ข้อมูลก๊าซเรือนกระจก. 2564. ข้อมูลปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรายสาขาภาคการขนส่ง. กรุงเทพฯ: องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2560. สรุปสาระสำคัญแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue

Choochuey, R. (2013). 59 TOYO ITO - Tomorrow Where Shall We Live? Bangkok, 1996. Retrieved from http://blogzone-allzone.blogspot.com/2013/ 05/59 -toyo-ito-tomorrow-where-shall-we.html

Rakos, l. S., & Antohe, A. (2014). Environmental cost- An Environment management accounting component. International Journal of Academic Research in Accounting, Finance and Management Sciences, 4(4), 166-175.

Rich, S. P., Timothy, V. P., Kamyar, E., & Ellen, C. (2001). Food, Fuel, and Freeways: An Iowa perspective on how far food travels, fuel usage, and greenhouse gas emissions. Retrieved from http://large.stanford.edu/ courses/2014/ph240/pope1/docs/pirog.pdf

Pirog, R., & Benjamin, A. (2001). Calculating food Miles for multiple ingredient food product. Retrieved from https://dr.lib.iastate.edu/handle/20.500. 12876/53613

Sirieix, L., Grolleau, G., & Schae, B. (2008). Do Consumer Care about Food Miles: An empirical Analysis in France. International Journal of Consumer Studies, 32(5), 508-515.

Tsai, W., Lin, T. W., & Chou, W. (2010). Integrating activity-based costing and environmental cost accounting systems: a case study. International Journal of Business and Systems Research, 4(2), 186-208.