การช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมในพม่า : ศึกษากรณี Free Burma Rangers (FBR)
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา โครงสร้างของหน่วยงาน ตลอดจนการดำเนินพันธกิจด้านมนุษยธรรมการบรรเทาทุกข์แก่ผู้คนในพม่าขององค์การ Free Burma Rangers (FBR)
ผลการศึกษาพบว่า FBR เป็นองค์การที่เกิดมาจากกลุ่มคริสเตียนที่มีชื่อว่า “Christians Concerned for Burma” ในปี 1997 ทั้งนี้เพื่อเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ความรุนแรงอันเกิดจากการโจมตีพลเรือนของทหารพม่า นอกจากนี้ FBR ยังเป็นขบวนการเคลื่อนไหวด้านมนุษยธรรมที่ประกอบด้วยผู้คนหลากหลายกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อนำความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานไปยังผู้คนทุกกลุ่ม ทุกความเชื่อที่อยู่ในพื้นที่ขัดแย้ง งานวิจัยนี้ยังพบอีกว่า FBR นั้นมีโครงสร้างการทำงานไม่ต่างไปจากองค์การระหว่างประเทศหรือบรรษัทข้ามชาติทั่ว ๆ ไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
โกสุมภ์ แสงจันทร์. (2549). พม่า ในความสัมพันธ์ทางการเมืองกับต่างประเทศ. เชียงใหม่: โชตนาพริ้นท์.
ขจิต จิตตเสวี. (2553). องค์การระหว่างประเทศ (International Organizations) (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
จุฑาทิพ คล้ายทับทิม. (2553). หลังความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Principles of International Relations). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุลชีพ ชินวรรโณ. (2558). โลกในศตวรรษที่ 21 กรอบการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่าง
ประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ประทุมพร วัชรเสถียร. (2553). โลกร่วมสมัย 2 คำตอบที่คนรุ่นใหม่ใคร่รู้. กรุงเทพ: ปาเจรา.
วาสนา บันลือหาญ. (2550). องค์กรพัฒนาเอกชนกับการช่วยเหลือผู้อพยพชาวพม่า. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
สมพงศ์ ชูมาก. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศยุคปัจจุบัน (ทศวรรษ 1990 สู่ทศวรรษแรกแห่งศตวรรษที่ 21). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Partners and FBR. (2010). Displaced Childhoods. N.p.