การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ภานุ เจริญสุข
ธรรมพร ตันตรา

บทคัดย่อ

การบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบเทศบาลที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง 2) เพื่อศึกษาเงื่อนไขปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน 3)เพื่อศึกษาหาแนวทางการบริหารจัดการองค์กรปกครองท้องถิ่นรูปแบบเทศบาล โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างและการสนทนากลุ่มย่อย มีหน่วยวิเคราะห์คือเทศบาลในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 11 เทศบาลตำบล และ 1 เทศบาลเมือง ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วยผู้แทนฝ่ายบริหาร ฝ่ายสภา ฝ่ายข้าราชการส่วนท้องถิ่นของเทศบาล ผู้แทนท้องถิ่นอำเภอ และผู้แทนภาคประชาชน


ผลการศึกษาวิจัยพบว่า ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เทศบาลในอำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่มีการบริหารจัดการโดยใช้หลัก 4 M ได้แก่ 1) Man : การบริหารจัดการด้านบุคลากร    2) Money : ด้านการจัดสรรงบประมาณ 3) Material : ด้านวัสดุอุปกรณ์ อาคารสถานที่           4) Management: มีการนำหลักธรรมาภิบาล การบริหารจัดการเชิงสถานการณ์ การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลง และการบริหารจัดการความขัดแย้งมาประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการ ผลตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 พบว่าปัจจัยสนับสนุนการบริหารจัดการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ได้แก่ ปัจจัยด้านระบบวิธีคิดและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล และข้าราชการเจ้าหน้าที่เทศบาล การมีภาวะผู้นำของผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาล การทำงานเต็มศักยภาพของข้าราชการเจ้าหน้าที่ การทำงานเป็นทีม การมีส่วนร่วมของประชาชน รวมถึงการประชาสัมพันธ์และการสร้างภาพลักษณ์องค์กรเทศบาล ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 พบว่าแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการคือการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในองค์กรเทศบาลในส่วนของบุคลากรทั้งสามฝ่ายของเทศบาลโดยการพัฒนาองค์ความรู้และศักยภาพในการทำงานตามบทบาทหน้าที่การจัดหารายได้ด้วยการจัดเก็บภาษีอย่างเป็นธรรม การจัดสรรงบประมาณด้านการพัฒนาอย่างเหมาะสม การจัดหาวัสดุอุปกรณ์ เครื่องจักรกล อาคารสถานที่ และเทคโนโลยีตามความจำเป็นเพื่อให้เพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ในส่วนการบริหารจัดการความขัดแย้งนั้นเทศบาลผู้บริหารและสมาชิกสภาเทศบาลควรเป็นกลุ่มคนหลักในการจัดกระบวนการหาแนวทางแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองท้องถิ่นอย่างจริงจัง ในขณะเดียวกันเทศบาลควรสนับสนุนให้เกิดหมู่บ้านหรือชุมชนต้นแบบทางด้านการพัฒนาในพื้นที่อย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วยเพื่อยกระดับสู่การเป็นชุมชนแห่งการเปลี่ยนแปลง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ธรรมพร ตันตรา. (2561). พฤติกรรมและวัฒนธรรมองค์การสาธารณะ. เชียงใหม่: สากลพริ้นติ้ง.

นิติพล ภูตะโชติ. (2557). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, และ ธนวรรธ ตั้งสินทรัพย์ศิริ. (2550). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.). (2543). การบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดี (Good Governance). รายงานประจำปี 2541-2543. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2549). พฤติกรรมองค์การสมัยใหม่แนวทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อรทัย ก๊กผล. (2547). Best practices ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

Caren, S., & Joanne, M. (1983). Organizational Culture and Counterculture: An Uneasy Symbiosis. Retrieved from https://gmdconsulting.eu/nykerk/wp-content/uploads/2020/02/Org-culture-and-counterculture.pdf

Gareth, R. J., & Jennifer, M. G. (2012). Understanding and Managing Organizational Behavior. (6th ed.). New Jersey, NJ: Prentice-Hall.

Patrick, M. W., & Rarmond, A. N. (1996). Management of Organization. Homewood, IL: Richard D. Irwin, Inc.

Robbin, S. P. (2013). Organization Behavior. (15th ed.). Kendallville, IN: Pearson Hall.