การจัดการทุนทางสังคมเพื่อสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยแนวทางการท่องเที่ยวของชุมชนตำบลริมปิง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ขจรศักดิ์ วงศ์วิราช
บุญฑวรรณ วิงวอน
อัจฉรา เมฆสุวรรณ
เนตรดาว โทธรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำเสนอทุนทางสังคมที่เหมาะสมต่อการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยแนวทางการท่องเที่ยวของชุมชนการของพื้นที่ชุมชนตำบลริมปิง อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน และ 2) เชื่อมโยงทุนทางสังคมในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยแนวทางการท่องเที่ยวของชุมชนการของพื้นที่ชุมชนตำบลริมปิง อำเภอเมืองจังหวัดลำพูน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง มีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารเทศบาลตำบลริมปิง ผู้นำชุมชน ประชาชน ชมรมผู้สูงอายุ กลุ่มอาชีพ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการในพื้นที่ตำบลริมปิง เลือกการสุ่มตัวอย่างแบบสโนบอลเพื่อให้ได้กลุ่มเป้าหมายที่ต้องการจากการแนะนำของกลุ่มตัวอย่าง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาสำหรับการนำเสนอผลการวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนตำบลริมปิงมีทุนทางทรัพยากรที่เอื้อต่อการท่องเที่ยวและสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจจากกิจกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยว โดยแบ่งออกเป็นพื้นที่ทางภูมิปัญญา พื้นที่ทางพุทธสถานและความศรัทธา พื้นที่ทางการเกษตร พื้นที่ทางสถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างและพื้นที่ทางการเรียนรู้ซึ่งล้วนแล้วแต่มีศักยภาพและสามารถเชื่อมโยงเป็นเส้นทาง กิจกรรมทางการท่องเที่ยว และ 2) การจัดการทุนทางสังคมที่สามารถสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจด้วยการท่องเที่ยวทำได้โดยการสร้างการรับรู้ การเข้าถึง และรูปแบบการนำเสนอทุนทางสังคมให้แก่ชุมชนหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนนักท่องเที่ยว เพื่อให้เกิดความสนใจและเข้ามาทำกิจกรรมต่าง ๆ และเกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจภายในชุมชนตามบทบาทของแต่ละภาคส่วน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เกวลิน หนูสุทธิ์, และ วราภรณ์ ดวงแสง. (2562). การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวโดยชุมชนบนฐานคิดเศรษฐกิจฐานราก. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 12(3), 481-496.

จิราพร ไชยเชนทร์, ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ, และ ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม. (2560). การพัฒนารูปแบบ การประยุกต์ใช้ทุนทางสังคมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวคลองร้อยสายเชิงสร้างสรรค์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 10(2), 2039-2055.

เทศบาลตำบลริมปิง. (2564). ข้อมูลทั่วไปตำบลริมปิง. สืบค้นจาก http://www.rimping.go.th

ธนชาติ โชติธนนันท์, และ กฤชวรรธน์ โล่ห์วัชรินทร์. (2562). ศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดอุดรธานี. Journal of Buddhist Education and Research, 5(2), 113-128.

ธัญญลักษณ์ แซ่เลี้ยว. (2560). ทุนทางสังคมวัฒนธรรมในการบริหารจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของชุมชนชาติพันธุ์ในแขวงน้ำทา สปป.ลาว. วารสารสังคมศาสตร์วิชาการ, 10(3), 60-80.

นภสร โศรกศรี. (2562). อัตลักษณ์วิถีวัฒนธรรมชุมชนตะปอน อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี : การจัดการเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต, 15(2), 197-213.

วิภาดา ญาณสาร, และ ศักดิ์สายันต์ ใยสามเสน. (2564). กาแฟป่าอินทรีย์: รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมภูมิปัญญาสร้างสรรค์บนฐานทรัพยากรท้องถิ่นของวิสาหกิจกาแฟชุมชนบ้านป๊อก อำเภอแม่ออน จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ, 6(3), 407-422.

ศศิธร ทองเปรมจิตต์, และ ศิรินภา พรมมาแบน. (2562). การออกแบบบรรจุภัณฑ์ขนมกลีบลําดวนชัชฎาภรณ์เบเกอรี่ที่มีอัตลักษณ์ท้องถิ่น. วารสารบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์ราชมงคลล้านนา, 7(1), 117-127.

สายไหม ไชยศิรินทร์. (2561). ทุนทางสังคมในกระบวนการแผนชุมชน บ้านมันแกว อำเภอกุดรัง จังหวัดมหาสารคาม. วารสารชุมชนวิจัย, 12 (พิเศษ), 141-154.

แสน กีรตินวนันท์, และ เพชร รอดอารีย์. (2562). กลไกการสร้างความเข้มแข็งและความต้องการทางด้านสวัสดิการชุมชนเมืองสําหรับผู้สูงอายุ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 14(2), 103-120.

อนุสรณ์ ธรรมใจ. (2559). เศรษฐกิจประเทศไทย. ปทุมธานี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรังสิต.

Moscardo G., Konovalov E., Murphy L., McGehee N. G. , & Schurmann A. (2017). Linking tourism to social capital in destination communities. Journal of Destination Marketing & Management, 6(4), 286-295.

Pimenta C. A. M., Ribeiro J. C., & Remoaldo P. (2021). The relationship between creative tourism and local development: a bibliometric approach for the period 2009-2019. Tourism & Management Studies, 17(1), 5-18.

Saranrom, D., Ouparamai, W., & Saranrom, A. (2021). Business Management Strategies in the COVID-19 Situation. Journal of MCU Peace Studies, 9(4), 1328-1336.