พัฒนาการและแนวคิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอพัฒนาการและแนวคิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย ถือเป็นจุดเริ่มต้นก่อนการศึกษาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในมิติอื่น ๆ ผลการศึกษาพบว่า นับตั้งแต่แนวคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของประชาชนเข้ามามีอิทธิพลต่อการเมืองการปกครองในประเทศไทย ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์สำคัญ ประกอบด้วย 1) กระแสความตื่นตัวทางการเมืองของภาคประชาชน 2) การแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญ การแก้ไขและการตรากฎหมายอื่น ๆ ภายในประเทศ และ 3) การปฏิรูประบบราชการตามแนวทาง “การบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชน” ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้ วาทกรรมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในประเทศไทย เริ่มมองเห็นภาพอย่างเป็นรูปธรรมในแง่จุดเริ่มต้นของร่องรอยทางเอกสารที่พยายามทำความเข้าใจพัฒนาการและแนวคิดการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนให้มีความหมายอย่างกระชับและตรงประเด็น อย่างไรก็ตามภายใต้ร่องรอยทางเอกสารในประเด็นดังกล่าวยังคงแฝงไปด้วยความคาดหวังต่อความเป็นรูปธรรมในผลิตผลตามเป้าหมายสูงสุดของการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชน กล่าวคือ การบริหารราชการที่มีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ตอบสนองความต้องการที่แท้จริง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชน รวมถึงก่อให้เกิดการพัฒนาประเทศโดยรวม จากเป้าหมายดังกล่าวทำให้การศึกษาวาทกรรมการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชน และการศึกษาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของประชาชนในมิติอื่น ๆ ยังคงเป็นโจทย์ที่ท้าทายต่อแวดวงวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ และอนาคตการบริหารราชการแผ่นดินในประเทศไทยต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
คริก เบอร์นาร์ด. (2557). ประชาธิปไตย: ความรู้ฉบับพกพา (อธิป จิตตฤกษ์, ผู้แปล). กรุงเทพฯ: โอเพ่นเวิลด์ พับลิชชิ่ง เฮาส์.
คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 : ปัญหา อุปสรรค และทางออก. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
เจมส์ แอล เครย์ตัน. (2552). คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการตัดสินใจของชุมชน (วันชัย วัฒนศัพท์, ผู้แปล). นนทบุรี: ศูนย์สันติวิธีเพื่อการพัฒนาประชาธิปไตย.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). คู่มือการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในระดับจังหวัด. กรุงเทพฯ: ส เจริญ การพิมพ์.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2551). การเสริมสร้างการเมืองภาคพลเมืองโดยการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมระดับจังหวัด. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 6(2), 15-16.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และ ถวิลวดี บุรีกุล. (2549). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
ปัทมา สูบกำปัง. (2552). การมีส่วนร่วมของประชาชนชาวไทยในรอบทศวรรษที่ผ่านมา: สภาพปัญหาและความท้าทายในอนาคต. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 7(2), 42-57.
ปาริชาติ วลัยเสถียร และ คณะ. (2552). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2540). หมวดสิทธิเสรีภาพ เรื่อง 6 สิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. ใน สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.
พัชรี สิโรรส. (2553). คู่มือเทคนิคและวิธีการบริหารจัดการสมัยใหม่ตามแนวทางการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี : การเปิดให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารราชการแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
ไพบูลย์ โพธิ์สุวรรณ. (2553). การสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานภาครัฐ. วารสารดำรงราชานุภาพ สถาบันดำรงราชานุภาพ, 10(36), 48-55.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์วิชาการ.
วัชรินทร์ ชาญศิลป์. (2552). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมของไทย: มุมมองทางนิติศาสตร์ สังคมวิทยาและรัฐศาสตร์. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 35(2), 15-23.
สถาบันพระปกเกล้า. (2544). การเสริมสร้างการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการประชาสังคม. ใน การประชุมวิชาการ “สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 2” (น. 1-3). นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
สถาบันพระปกเกล้า. (2549). จับชีพจรประเทศไทย: ตัวชี้วัดประชาธิปไตยและธรรมาภิบาล ปี พ.ศ. 2548 - 2549. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2546-2550. (2546). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2551-2555. (2550). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย พ.ศ. 2556-2561. (2556). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการ พ.ศ. 2564-2565. (2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2558). หลักเกณฑ์และแนวทางการพิจารณารางวัลความเป็นเลิศด้านการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมประจำปี พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: วิชั่น พริ้นท์ แอนด์มีเดีย จำกัด.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). การศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตย. สืบค้นจาก http://www.onec.go.th/Act/democ/content.htm.
ศักดินา สนธิศักดิ์โยธิน. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลด้านการบริการจัดหางาน (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน.
อนุรักษ์ นิยมเวช. (2556). บทความเกี่ยวกับการพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
อรพรรณ นาคมหาชลาสินธุ์. (2550). การมีส่วนร่วมของประชาชน. วารสารกรมบัญชีกลาง, 48(5), 19-34.
อรพินท์ สพโชคชัย. (2546). การบรรยายหัวข้อหลักการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม. สืบค้นจาก www.opdc.go.th.
อรพินท์ สพโชคชัย. (2551). หลักสำคัญในการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม Participatory Governance Principle. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนาคุณภาพ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน).
อรทัย ก๊กผล. (2553). การมีส่วนร่วมของประชาชน: ความท้าทายของนักบริหารรัฐกิจในสังคมประชาธิปไตย. ใน อัมพร ธำรงลักษณ์ (บก.), การบริหารปกครองสาธารณะ (Public Governance): การบริการรัฐกิจในศตวรรษที่ 21 (น. 85-105). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอกวิทย์ มณีธร. (2554). ระบบราชการ รัฐวิสาหกิจ และองค์การมหาชนของไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ็ม.ที.เพรส.