การใช้ประโยชน์จากคลังปัญญาครูเกษียณอายุเพื่อพัฒนาท้องถิ่น: กรณีศึกษาชุมชนตำบลแม่แรม และเทศบาลตำบลแม่แรม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจคลังปัญญาและความเป็นไปได้ในการใช้ประโยชน์จากคลังปัญญาครูเกษียณอายุ 2) เพื่อทราบความต้องการในการใช้ประโยชน์จากคลังปัญญาครูเกษียณอายุของประชาชนในชุมชนตำบลแม่แรม และเทศบาลตำบลแม่แรม โดยใช้การวิจัยแบบผสมระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ครูเกษียณอายุ จำนวน 8 คน และบุคลากรในเทศบาลตำบลแม่แรม จำนวน 5 คน ได้แก่ นายกเทศมนตรี ผู้อำนวยการกองการศึกษา นักพัฒนาชุมชน นักวิชาการสาธารณสุข และนักวิชาการเกษตร และการใช้แบบสอบถามกับประชาชนในตำบลแม่แรม จำนวน 372 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและการวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า ครูเกษียณอายุที่เป็นสมาชิกชมรมครูบำนาญแม่ริม และอาศัยอยู่ในตำบลแม่แรมและพื้นที่ใกล้เคียง จำนวน 8 คน สามารถจำแนกความรู้ได้ 6 ด้าน ได้แก่ 1) การเลี้ยงเด็กปฐมวัย 2) สังคมและการใช้ชีวิตประจำวัน 3) ภาษาไทยและดนตรีไทย 4) การถนอมอาหาร 5) สุขศึกษาและพลศึกษา และ 6) การเกษตร จากการสำรวจความต้องการในการใช้ประโยชน์จากคลังปัญญาครูเกษียณอายุของประชาชนในตำบลแม่แรม พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุอยู่ในช่วง 50 - 59 ปี มีการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น และประกอบอาชีพการเกษตร มีความต้องการความรู้จากคลังปัญญาครูเกษียณอายุในระดับมาก ในด้านการเลี้ยงเด็กปฐมวัย ด้านสังคมและการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านการถนอมอาหาร ด้านสุขศึกษาและพลศึกษา และด้านการเกษตร ส่วนด้านภาษาไทยและดนตรีไทย มีความต้องการอยู่ในระดับปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่า เทศบาลตำบลแม่แรมมีความต้องการใช้ประโยชน์จากคลังปัญญาครูเกษียณ ใน 5 ด้าน ได้แก่ 1) การเลี้ยงเด็กปฐมวัย 2) สุขศึกษาและพลศึกษา 3) สังคมและการใช้ชีวิตประจำวัน 4) การถนอมอาหาร และ 5) เกษตร
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2565). สถิติผู้สูงอายุ. สืบค้นจาก https://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/1159
กรมสุขภาพจิต. (2563). ก้าวย่างของประเทศไทย สู่ ‘สังคมผู้สูงอายุ’ อย่างสมบูรณ์แบบ. สืบค้นจาก https://www.dmh.go.th/news-dmh/view.asp?id=30476
คณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. (2545). แผนผู้สูงอายุแห่งชาติฉบับที่ 2 (2545-2564). กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาพลาดพร้าว.
เจิมขวัญ รัชชุศานติ. (2559). ศักยภาพการใช้ภูมิปัญญาเพื่อสร้างรายได้ของกลุ่มผู้สูงอายุ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์, 11(2), 68-84. สืบค้นจาก https://ph01.tcithaijo.org/index.php/uruj/article/view/77065/61871
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2552). สอนให้เด็กมีจิตสาธารณะ. กรุงเทพฯ: วีพริ้นท์ (1991).
ณัฐชยา ผิวเงิน. (2554). บทบาททุนทางสังคมในการพัฒนาชุมชนบ้านปลาค้าว ตำบลปลาค้าว อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
ณัฑฐา กรีหิรัญ. (2550). การศึกษาความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานมหาวิทยาลยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.
เทศบาลตำบลแม่แรม. (2563). ข้อมูลพื้นฐาน. สืบค้นจาก http://maeram.go.th/page/contents/bohae
นิสดารก์ เวชยานนท์. (2551). มิติใหม่ในการบริหารทุนมนุษย์. กรุงเทพฯ: กราฟิโก ซิสเต็มส์.
บังอร ศิริสัญลักษณ์. (2559). ทุนมนุษย์ของเจนเนอเรชั่นซีกับความพร้อมในการอยู่ร่วมในสังคมผู้สูงอายุ. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต, 5(1), 36–45.
พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546. (2546, 31 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 120 ตอนที่ 130 ก, หน้า 1.
สุนทร สุนันท์ชัย. (2543). "ความรู้พื้นฐานการศึกษาตลอดชีวิต" ในเอกสารการสอนชุดวิชา การศึกษาตลอดชีวิตและการศึกษานอกระบบ หน่วยที่ 1 เล่ม 1 สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภาพร ทศพะรินทร์. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมจิตอาสาของผู้สงอายุในชมรมผู้สูงอายุ จังหวัดนนทบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
อรสา ธาตวากร. (2562). การพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุในภาวะพฤฒพลังให้เกิดการยังประโยชน์ด้านสังคม. วารสารสังคมภิวัฒน์, 10(3), 39-63.
Ployhart, R. E. and Moilterno, T. P. (2011). Emergence of the Human Capital Resource: a Multilevel Model. Academy of Management Review, 36(1), 127–150.