ปัจจัยส่วนประสมการตลาดผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร

Main Article Content

สมบัติ กันบุตร
เกษราพร ทิราวงศ์
อำนวยพร ใหญ่ยิ่ง
อโนชา สุภาวกุล
น้ำฝน รักประยูร

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 1) เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์โดยการมีส่วนรวมของชุมชนในเขตพื้นที่พิเศษอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร 2) เพื่อยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์และ  การถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ชุมชนให้ผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นมีมูลค่าสูง โดยใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่น สำหรับวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ จากกลุ่มตัวอย่างประชาชนในพื้นที่ศึกษาจำนวน 200 คน จากการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตการณ์ และข้อมูลเชิงเอกสาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และจัดลำดับความสำคัญ


ผลการศึกษาพบว่า
1.การพัฒนาอาหารท้องถิ่นของชุมชนต้องมีการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมของอาหารท้องถิ่น ซึ่งเป็นโอกาสของการเสริมจุดแข็งของวัฒนธรรมและประเพณีลงในอาหาร และให้เร่งรีบดำเนินการ เพราะต้องพิจารณาถึงห่วงโซ่อุปทานของอาหาร ในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
2. พบว่า ปัจจัยส่วนประสมการตลาด 1) ด้านผลิตภัณฑ์ พบว่า ผลิตภัณฑ์ต้องมีความหลากหลาย และหลายรสชาติ เพิ่มคุณภาพด้วยการมีฉลากกำกับผลิตภัณฑ์ชัดเจน ระบุวันหมดอายุ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.30)  2) ด้านราคา พบว่า มีการกำหนดกลยุทธ์การตั้งราคา และการติดราคาไว้อย่างชัดเจน กำหนดราคาให้เหมาะสมกับคุณภาพสินค้า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.29) 3) ด้านช่องทางการจัดจําหน่าย พบว่า ต้องให้ความสำคัญกับตลาดในชุมชน และช่องทางการตลาดที่หลากหลาย และตลาดออนไลน์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.23) 4) ด้านการส่งเสริมการตลาด พบว่า ต้องมีการส่งเสริมการตลาดให้มากขึ้น การประชาสัมพันธ์ให้ทั่วถึง และการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่วางไว้ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด (4.19) และการยกระดับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของชุมชนทั้ง 2 จังหวัด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จักรพันธ์ จันทร์หอม, และ ภัทรธิรา ผลงาม. (2561). การวิจัยและพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ชุมชนในกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร บ้านสว่างธรรมวิเศษ ตำบลบ้านน้ำอ้อม อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(1), 276-288.

จิตพนธ์ ชุมเกตุ. (2560). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ณงลักษณ์ จารุวัฒน์. (2560). การตลาด 4.0. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.

นัทธมน เดชประภัสสร. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์เสริมอาหารทางอินเทอร์เน็ต. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เพชรา บุดสีทา. (2560). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับวิสาหกิจชุมชน จังหวัดกำแพงเพชร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6, “วิทยาการจัดการวิชาการ 2017: การวิจัยยุคประเทศไทย 4.0” (น. 271-285). เชียงราย: คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

สุพัตรา คำแหง, ภคพล อนุฤทธิ์, และ มารุจ ลิมปะวัฒนะ. (2559). กลยุทธ์การตลาดผลิตภัณฑ์อาหารท้องถิ่นเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติครั้งที่ 7 23 มิถุนายน 2559 มหาวิทยาลัยหาดใหญ่. (น. 517-532). สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

Phillip Kotler. (2003). Principles of marketing. (9th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.