การพัฒนาระบบและกลไกการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของชุมชน: กรณีการจัดการผลผลิตจากฟาร์มเกษตรอินทรีย์สู่อาหารกลางวันโรงเรียน

Main Article Content

สถาพร แสงสุโพธิ์
ขจรเกียรติ ศรีนวลสม
อินสม สารินจา
อัครเดช วรหาญ
นพวรรณ บุญธรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในงานวิจัยนี้เป็นการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในโรงเรียน มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเสนอตัวแบบการพัฒนาระบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของชุมชน ตำบลบ่อแก้ว อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ การเก็บรวมรวมข้อมูลการผลิตจากเกษตรกร 350 คน แกนนำเกษตรกรกลุ่มผู้ผลิต 30 คน เก็บข้อมูลการบริโภคของนักเรียน จากการสอบถามผู้ปกครอง 144 คน สัมภาษณ์เชิงลึกครู ผู้บริหาร 30 คน โดยทำสอบคุณภาพเครื่องมือที่สร้างขึ้นมีความเชื่อมั่น 0.96 นอกจากนี้ ยังมีการประชุมสนทนากลุ่มเพื่อประเมินผลดำเนินงาน ทุกกิจกรรมการเรียนรู้


ผลการวิจัย พบว่า ศักยภาพการผลิตและการจัดการผลผลิตเกษตรอินทรีย์ของเกษตรกรตำบลบ่อแก้ว มีศักยภาพในการผลิตพืชโดยไม่ใช้สารเคมี สามารถจำหน่ายผลผลิตเป็นวัตถุดิบประกอบอาหารกลางวันของโรงเรียนได้ตามที่โรงเรียนต้องการ โดยเฉพาะข้าว ผัก ผลไม้ และไข่ ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายท้องถิ่นควร 1) ส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตจากฟาร์มเกษตร สู่ระบบอาหารกลางวันและใช้ผักพื้นบ้านที่มีคุณค่าโภชนาการเป็นวัตถุดิบมากขึ้น ซึ่งจะช่วยสร้างรายได้ครัวเรือนและเศรษฐกิจชุมชนในระยะยาว 2) การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ด้านเกษตรอินทรีย์ เพื่อสุขภาพและโภชนาการของนักเรียน ในระบบอาหารกลางวันของโรงเรียนนอกจากใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เกษตรอินทรีย์ของนักเรียนและชุมชนแล้วยังมีส่วนช่วยสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในกระบวนการผลิตการจัดการเศษวัสดุเหลือทิ้ง เช่น นำกิ่งไม้ใบไม้มาทำปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม และสารอาหารอื่นในปริมาณมากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ในระยะยาว 3) การพัฒนาระบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของชุมชนเกิดขึ้นได้ด้วยกลไกความร่วมมือของผู้ผลิตและผู้บริโภค โดยองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานส่งเสริมทั้งภายในและภายนอกพื้นที่การสนับสนุนทั้งด้านเกษตรด้านสุขภาพและด้านวิชาการ ซึ่งมีส่วนช่วยเพิ่มผลิตภาพและเสริมสร้างศักยภาพการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืนของชุมชนได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จิราพร ขีดดี, ฐิติกร โตโพธิ์ไทย, ชมพูนุท ไทยจินดา, ดารินทร์ อารีย์โชคชัย, วลัยพร พัชรนฤมล, และ ทักษพล ธรรมรังสี. (2558). การทบทวนสถานการณ์ระบบป้องกันควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพตามธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2552. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.

นันทพร วีรวัฒน์. (2555). รูปแบบการบริหารจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนอย่างครบวงจร ตามรอยพระยุคลบาทสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมาร: ด้านการพัฒนาอาหารโภชนาการและสุขภาพอนามัยในโรงเรียน. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์.

นิคม สีเงิน, สุวารีย์ ศรีปูณะ, และ อนัญญา โพธิ์ประดิษฐ์. (2561). ผลการใช้รูปแบบการสร้างความมั่นคงทางอาหารของครัวเรือนด้วยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา ชุมชนริมน้ำพอง อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 1(3), 75-83.

พศิน บุญรอด. (2559). การบริหารโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันตามวัฒนธรรมการบริโภคของท้องถิ่น สำหรับโรงเรียนตำรวจตะเวนชายแดนเฮียงไทยธำรง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยแม่โจ้, เชียงใหม่.

วันทาศิริ สิงห์สถิต. (2555). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษาไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สมุทรปราการ เขต 1 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ศุภาพิชญ์ มณีสาคร, โฟน โบร์แมนน์, วรรณวดี ณภัค, และ ปิยอร วจนะทินภัทร. (2564). ผลของการจัดการเรียนเชิงรุกโดยใช้กิจกรรมเป็นฐานต่อความรู้ทักษะการอ่านและเขียนและทัศนคติต่อการเรียนของนักศึกษาพยาบาล. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ, 15(1), 35-46.

สุมณฑา พรหมบุญ และ อรพรรณ พรสีมา. (2540). การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม. วารสารครุศาสตร์, (กรกฎาคม-ตุลาคม 2540). 28-29.

อุดมสิน อุสาทรัพย์. (2553). รูปแบบการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1: กรณีศึกษาแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.

โอสถ เดชกัลยา. (2551). การบริหารงานโครงการอาหารกลางวันของสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่พิเศษ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกาประถมศึกษาเชียงราย เขต 3 (วิทยานิพนปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.

อเนก จอมมูล. (2549). การปฏิบัติของเกษตรกรในการใช้สารเคมีเกษตร สำหรับการผลิตสตรอเบอรี่ใน อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

อุษาวดี สุตะภักดิ์. (2561). ความเป็นไปได้ของมาตรการนำพืชเกษตรอินทรีย์เข้าสู่การจัดบริการอาหารกลางวันของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตภาคเหนือ (รายงานวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยพายัพ.

สำนักงานการทะเบียน อำเภอสะเมิง. (2563). สถิติประชากร. สืบค้นจาก https://stat.bora.dopa.go.th/