การพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนวิถีพุทธต้นแบบในจังหวัดนครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาหลักการดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนและหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการจัดการองค์กร ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการองค์กรการเงินในจังหวัดนครราชสีมา และ พัฒนาองค์กรการเงินชุมชนในจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นต้นแบบด้วยหลักพุทธธรรม วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบายและพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1) ศึกษาหลักการดำเนินงานขององค์กรการเงินชุมชนและหลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการจัดการองค์กร ได้แก่ องค์กรการเงินชุมชนเป็นการสะสมเงินกองทุนในหมู่บ้านเพื่อพึ่งตนเอง และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน หลักพุทธธรรมที่สนับสนุนการจัดการองค์กรเป็นองค์ความรู้ที่มุ่งเน้นให้ดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องเหมาะสมของสมาชิก 2) ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการองค์กรการเงินในจังหวัดนครราชสีมา ได้แก่ ขาดความรู้และทักษะในการจัดทำบัญชี รวมทั้งการจัดกิจกรรมทางการเงินการจัดทำเอกสารให้เป็นระบบ เพื่อใช้ในการตรวจสอบ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ และความเต็มใจ ในการทำงานเต็มเวลา รวมทั้งบางส่วนไม่ได้รับการดูแลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือได้รับในส่วนที่ไม่ตรงกับความต้องการ 3) พัฒนาองค์กรการเงินชุมชนในจังหวัดนครราชสีมาให้เป็นต้นแบบด้วยหลักพุทธธรรม ได้แก่ ตรวจสอบผลประโยชน์ โดยใช้หลักไตรสิกขา ศีล สมาธิ ปัญญา สำหรับการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนต้นแบบ ศีล คือ การปฏิบัติตนไม่ทุจริต ปฏิบัติตามระเบียบทางการเงิน สมาธิ คือ การปฏิบัติกิจกรรมดี ๆ อย่างต่อเนื่อง ปัญญา คือ การวิเคราะห์ตรวจสอบกันและกันอย่างมีเหตุผลรับประโยชน์ร่วมกัน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กมลลักษณ์ ดิษยนันท์. (2544). ศักยภาพและปัญหาในการจัดการกองทุนหมู่บ้านในจังหวัดเชียงใหม่ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.
จำนงค์ สมประสงค์. (2555). การจัดตั้งและบริหารธนาคารหมู่บ้านตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ: มูลนิธิกลุ่มเกษตรกรแห่งประเทศไทย.
ชญาณ์นันท์ ณัชภัคปฐมภพ. (2558). แนวทางการบริหารงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษาจังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 13(2), 93-101.
ประเวศ วะสี. (2550). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม แนวทางพลิกฟื้นเศรษฐกิจสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
พระธรรมวิสุทธิกวี (พิจิตร ฐิตวณฺโณ). (2551). การบริหารจิต. กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้นติ้ง กรุ๊ป.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ธรรมนูญชีวิต: พุทธจริยธรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ บริษัท สกธรรมิก จำกัด.
ยงยุทธ เจริญรัตน์. (2545). ประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ศึกษาเฉพาะกรณี กองทุนชุมชนเมืองของกรุงเทพมหานคร (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
รังสรรค์ ปิติปัญญา. (2547). แนวทางการพัฒนาองค์กรการเงินชุมชนในพื้นที่จังหวัดลพบุรี (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริพงษ์ ลดาวัลย์ ณ อยุธยา. (2551). หน้าที่ทางการบริหาร. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ดาว.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. (2544, 26 มิถุนายน). THE GRAMEEN BANK ธนาคารหมู่บ้านตามแนวทางพระราชดำริที่ไทยควรศึกษา. ไทยโพสต์, น. 20.
เสรี พงศ์พิศ. (2547). ฐานคิดจากแผนแม่บทสู่วิสาหกิจชุมชน. กรุงเทพฯ: พลังปัญญา.
Adjei, J. K., Arun, T., & Hossain, F. (2009). Asset Building and Poverty Reduction in Ghana: The Case of Microfinance. Centre for Socio-economic Dynamics and Cooperation of the University of Bergamo, 33(3), 265-291. Retrieved from https://www.jstor.org/stable/41406497
Li, X., Gan, C., & Hu, B. (2011). The welfare impact of microcredit on rural households in China. Journal of Socio-Economics, 40(4), 404–411. https://doi.org/10.1016/j.socec.2011.04.012
Mago, S., & Mago, S. (2013). Asset-Building and Microfinance: An Econometric Analysis. Mediterranean Journal of Social Sciences, 4(3), 449–456. doi: 10.5901/mjss.2013.v4n3p449