รูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านร่องหวาย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านร่องหวาย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย โดย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย ประชากรชาติพันธุ์อีสานที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในพื้นที่บ้านร่องหวาย ผู้แทนกลุ่มองค์กรชุมชน ผู้แทนหน่วยงานภาครัฐเอกชน ผู้แทนผู้นำท้องถิ่นท้อง ผู้แทนสถาบันการศึกษา ผู้แทนผู้นำศาสนา และผู้แทนภาคประชาชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และการบรรยายประกอบภาพและตาราง
ผลการศึกษาพบว่า ในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของชุมชนบ้านร่องหวาย ตำบลดงมหาวัน อำเภอเวียงเชียงรุ้ง จังหวัดเชียงราย ผ่านกระบวนการ 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมวิทยากรกระบวนการ การจัดเวทีชุมชน การประเมินศักยภาพชุมชน การกำหนดวิสัยทัศน์ และการกำหนดแผนงาน ทำให้ได้รูปแบบการพัฒนาที่ประกอบไปด้วย 1) การใช้ระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองและขยายผลกำไรสู่ชุมชนในรูปแบบทุนความรู้ ทุนชุมชน 2) การผสมผสานความเชื่อดั้งเดิมกับความเป็นสมัยใหม่ในรูปแบบการส่งผ่านจากจากปราชญ์ชุมชนสู่ผู้สืบทอดรุ่นใหม่ 3) การรักษาสมดุลระหว่างสิ่งแวดล้อมกับวิถีชีวิตของคนในชุมชนผ่านรูปแบบของการกำหนดระเบียบ ข้อตกลงร่วมกันในการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมโดยคงวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
นฤพนธ์ ด้วงวิเศษ. (2564). Cultural Ecology. สืบค้นจาก http://www.sac.or.th/ databases/anthropology-concepts/glossary/28
นฤมล อนุสนธิ์พัฒน์ และคณะ (2564). การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนพึ่งพาตนเองบนพื้นฐานชุมชนาธิปไตย. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(12), 204–217.
ยลดา พงค์สุภา. (2561). รูปแบบการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยผู้สูงอายุในชุมชนชนบท. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 81–87.
อภิศักดิ์ โสมอินทร์. (2534). โลกทัศน์อีสาน. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
อัฐพล อินต๊ะเสนา. (2560). เรื่องเล่ากับการสร้างพื้นที่ผ่านเครือข่ายทางสังคมของคนไทยอีสานพลัดถิ่น. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 12(34), 67-82.