รัฐสวัสดิการหรือสวัสดิการของรัฐ: นโยบายเรียนฟรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการฉบับนี้ต้องการนำเสนอเรื่อง นโยบายการศึกษาในประเทศไทย กรณีเรียนฟรี 15 ปี อันเป็นโครงการสนับสนุนการจัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี โดยนักเรียนจะได้รับการสนับสนุนทั้งรายการหนังสือเรียน อุปกรณ์การเรียน เครื่องแบบนักเรียน และกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียนได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม เพื่อความพร้อมให้แก่ผู้เรียน ทั้งนี้ สถานศึกษานำนโยบายดังกล่าวจัดเป็นกิจกรรมพัฒนาแก่ผู้เรียน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ และเพื่อให้ผู้ปกครองนักเรียนได้รับการบรรเทาภาระค่าครองชีพจากส่วนลดค่าใช้จ่ายเรื่องหนังสือแบบเรียน จึงทำให้นโยบายดังกล่าวถูกนำไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยพรรคการเมืองนำนโยบายดังกล่าวไปใช้ในการหาเสียง จากการรวบรวมข้อมูลและศึกษาในประเด็นนี้พบว่า แท้จริงแล้วนโยบายดังกล่าวเป็นนโยบายเพื่อจัดเป็นรัฐสวัสดิการ (Welfare State) หรือเป็นสวัสดิการโดยรัฐ (State or Public Welfare)
จากการศึกษาพบว่า นโยบายเรียนฟรียังไม่ใช่รัฐสวัสดิการโดยแท้จริงแต่เป็นเพียงสวัสดิการด้านการบริการสังคมที่รัฐจำเป็นต้องจัดให้ประชาชน เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของชาติ และสร้างพื้นฐานในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นนโยบายเรียนฟรีในประเทศไทยจึงเป็นนโยบายที่เกิดขึ้นแบบสวัสดิการโดยรัฐ อีกทั้งสวัสดิการนี้ รัฐยังควรต้องแก้ไขให้มีประสิทธิภาพ และเหมาะสมกับการใช้ชีวิตของประชาชนให้มากขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงการคลัง. (2559). กรมบัญชีกลางแจงการเบิกค่าเล่าเรียนบุตรตามสิทธิข้าราชการ. สืบค้นจาก https://finance.mcu.ac.th/wp-content/uploads/2021/07/%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%84%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B8%95%E0%B8%A3.pdf
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). การศึกษาไทยในอดีต. สืบค้นจากhttps://www.moe.go.th/education-history
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). แนวทางการดำเนินงานตามนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมี คุณภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กิติพัฒน์ นนทปัทมะดุล. (2550). สวัสดิการสังคมเพื่อคนด้อยโอกาส : นโยบายว่าด้วยการกินดี อยู่ดี มีสุข มีสิทธิ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา. (2563). รายงานสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาหลัง โควิด-19. สืบค้นจาก https://www.eef.or.th/infographic-10-10-20
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2549). สวัสดิการสังคม ในมิติกินดีอยู่ดีมีสุขมีสิทธิ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. (2564). สร้างสังคมไทยให้เป็นรัฐสวัสดิการ. กรุงเทพฯ: เสมสิกขาลัย.
ประชาไท. (2562). รัฐสวัสดิการสู่สังคมไทยเสมอหน้า(2): รัฐสวัสดิการคือเครื่องมือลดความขัดแย้ง. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2019/02/80995
พงษ์เทพ สันติกุล. (2550). โลกาภิวัตน์: บทบาทและอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดนโยบายการศึกษาและสาธารณสุขของไทย. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.
พรรคเพื่อไทย. (2561). นโยบายหลักพรรคเพื่อไทย. สืบค้นจาก https://ptp.or.th
รพีพรรณ คำหอม. (2545). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สามเจริญพาณิชย์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540. (2540, 11 ตุลาคม) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 114 ตอนที่ 55 ก, หน้า 10.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560. (2560, 6 เมษายน) ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 40 ก, หน้า 14.
เวิร์คพอยท์ ทูเดย์. (2562). คุยกับ "อาจารย์ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี" เข้าใจการเมือง-เรื่องรัฐสวัสดิการ ฟินแลนด์. [วีดิทัศน์]. กรุงเทพฯ: เวิร์คพอยท์.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ. สืบค้นจาก https://www.moe.go.th/backend/wp-content/uploads/2020/10/1.-พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ-พ.ศ.2542-ฉ.อัพเดท.pdf
สุวิทย์ บุญช่วย, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, และ อำภา บุญช่วย. (2541). เจตคติของครู ผู้ปกครอง และนักเรียนต่อโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาใน 3 จังหวัดภาคใต้. ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ไอลอว์. (2557). การศึกษาไทยมาจากไหน. สืบค้นจาก https://ilaw.or.th/node/3272
Andersen, G. E. (1990). The Three Worlds of Welfare Capitalism. Princeton, NJ; Polity Press.
Brigg, A. (1961). The Welfare State in Historical Perspective. European Journal of Sociology, 2(2), 221-258.
Dahm, J., Gombert, T., Krell, C., Petring, A., & Rixen, T. (2012). Welfare State and Social Democracy. Berlin: Mauser+TrÖster GbR, MÖssingen.
Gordon, A. & Spicker, P. (2007). The international Glossary on Poverty. London: Zed Book.