การพัฒนาความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพชุมชนของ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

อดิศร คันธรส

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วมและการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพชุมชน และเพื่อเสนอประเด็นยุทธศาสตร์และโครงการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) โดยมีเทศบาลตำบลสันทรายหลวง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นพื้นที่ในการวิจัยและพัฒนาโดยประยุกต์ใช้กระบวนการ A-I-C (Appreciation – Influence – Control) ในการพัฒนา และทำการประเมินก่อนและหลังการพัฒนากับกลุ่มตัวอย่างประชาชนในเทศบาลตำบลสันทรายหลวงที่เข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 281 คน


ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพชุมชน หลังจากการพัฒนา เทศบาลตำบลสันทรายหลวงมีระดับการมีส่วนร่วมของสมาชิกในชุมชนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมในการจัดการสุขภาพที่เกี่ยวกับการออกกำลังกาย การรักษาสภาพแวดล้อม และกิจกรรมทางสังคมที่มีผลต่อการพัฒนาสุขภาวะโดยรวมของสมาชิกในชุมชน ในขณะเดียวกันเทศบาลตำบลสันทรายหลวงมีระบบการบริหารจัดการสุขภาพชุมชนเพิ่มขึ้น โดยมีการจัดตั้งหน่วยงานและคณะกรรมการ ซึ่งเป็นผู้แทนของชุมชนเข้ามาร่วมในการบริหารจัดการสุขภาพชุมชน การจัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่ส่งเสริมการดูแลสุขภาพ เช่น สนามกีฬา และการจัดกิจกรรมทางสังคมแก่สมาชิกในชุมชน ซึ่งจากการประเมินผลภายหลังการพัฒนา การมีส่วนร่วมและความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพชุมชนของเทศบาลตำบลสันทรายหลวงเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05


ผลการจัดทำยุทธศาสตร์และโครงการในการเสริมสร้างความเข้มแข็งในการจัดการสุขภาพชุมชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ จากการระดมความคิดเห็นของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน และประชาชนในพื้นที่ ได้เกิดการเสนอประเด็นยุทธศาสตร์ 5 ด้าน ได้แก่ 1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและผังเมือง 2) การพัฒนาและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชน 3) การพัฒนาสังคมและคุณภาพชีวิต 4) การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และ 5) การพัฒนาการเมือง และการบริหาร โดยจากประเด็นยุทธศาสตร์สามารถจำแนกกิจกรรม/โครงการ ได้จำนวน 24 โครงการ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย สำนักที่ปรึกษา. (2558). การพัฒนาระบบบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://advisor.anamai.moph.go.th/main.php?filename=index

คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 กระทรวงสาธารณสุข. (2559). แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข.

ฉัตรสุมน พฤฒิพิญโญ. (2560). การปกครองส่วนท้องถิ่นกับงานอนามัยสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

เทศบาลตำบลสันทรายหลวง. (2564). ข้อมูลพื้นฐานเทศบาลตำบลสันทรายหลวง. สืบค้นจาก http://sansailuang.go.th/about.php?id=1

ปธาน สุวรรณมงคล. (2554). การกระจายอำนาจแนวคิดและประสบการณ์. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เย็นฤดี กะมุกดา. (2554). รูปแบบการจัดการสุขภาพที่เหมาะสมของประชาชนโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคกลางตอนบน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ลิขิต ธีระเวคิน. (2544). วิวัฒนาการการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศุภลักษณ์ วัฒนาวิทวัส. (2542). สุขภาพส่วนบุคคลและชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันราชภัฏสวนดุสิต.

สุภัชญา สุนันต๊ะ. (2561). องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับบทบาทการสร้างเสริมสุขภาพชุมชน. วารสารกฎหมายสุขภาพและสาธารณสุข, 4(1), 98-107.

Faul, F., Erdfelder, E., Lang, A. & Buchner, A. (2007). G*Power 3: A flexible statistical power analysis program for the social, behavioral, and biomedical sciences. Behavior Research Methods, 39(2), 175-191.