การสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต โดยใช้กิจกรรมและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ในจังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วิราษ ภูมาศรี
วินิจ ผาเเจริญ
รัตนนาภรณ์ ประพันธ์รัตน์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการณ์ของความร่วมมือในการต่อต้านทุจริต 2) ศึกษารูปแบบเครือข่ายความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต และ 3) สร้างเครือข่ายความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต โดยใช้กิจกรรมและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน พื้นที่วิจัย ได้แก่ สถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่ 4 แห่ง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน นักศึกษา นักวิชาการ อาจารย์ และผู้บริหาร จำนวน 346 รูป/คน และผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 30 รูป/คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการณ์ของความร่วมมือในการต่อต้านทุจริต โดยใช้กิจกรรมและหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงใหม่ ยังไม่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม 2) รูปแบบเครือข่ายความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต โดยมีการสร้างการรับรู้ สร้างจิตสำนึก ระบบการตรวจสอบ และเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรม และ 3) การสร้างเครือข่ายความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ องค์การคณะสงฆ์ และสถาบันการศึกษา ถือว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญในการขับเคลื่อนและสร้างความเข้มแข็งในการต่อต้านทุจริต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. (2561). “องค์กรท้องถิ่น” แชมป์ถูกร้องสอบโกง ตร.อยู่อันดับ 3. สืบค้นจาก https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/803342

เกรียงศักดิ์ โชควรกุล. (2561). กลยุทธ์การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันด้วยการสร้างค่านิยมของกลุ่มนักศึกษาในจังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20(2), 237-251.

ชุมแพ แสนยะบุตร, และ ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2560). การสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนและภาคประชาชนต่อต้านการทุจริตขององค์กรชุมชน : กรณีศึกษาชุมชนในเขตเทศบาลตำบลกลางหมื่น อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม, 7(3), 53-62.

ฐานริณทร์ หาญเกียรติวงศ์ และคณะ. (2560). เครือข่ายการป้องกันปัญหาหมอกควันในเขตภาคเหนือตอนบน. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7(3), 41-53.

ไทยรัฐออนไลน์. (2563). คอร์รัปชันไทยรุนแรงรอบ 3 ปี เอกชนรุมจ่ายเงินใต้โต๊ะปี 61 ชิงงานรัฐ. สืบค้นจาก https://www.thairath.co.th/business/economics/1205688

ธิติรัตน์ ราศิริ, และ อาจินต์ สงทับ. (2561). แนวทางการมีส่วนร่วมภาคีเครือข่ายในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุเพื่อก้าวสู่ “ศตวรรษที่ 21”. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้, 5(1), 315-628.

นนท์ น้าประทานสุข. (2561). บทบาท หน้าที่และกลไกขององค์การภาครัฐและภาคประชาสังคม ต่อการต่อต้านและปราบปรามการทุจริต คอร์รัปชัน ของประเทศญี่ปุ่น. วารสารสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, 11(2), 83-111.

บีบีซี ไทย. (2562). คอร์รัปชัน : อันดับความโปร่งใสไทยปี 2018 ตกจาก 96 เป็น 99. สืบค้นจาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47028658

บวร ขมชุณศรี, และ ยุทธนา ประณีต. (2564). การส่งเสริมการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบและการตัดสินใจทางการเมืองตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐของประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 5(1), 315-628.

วาโร เพ็งสวัสดิ์. (2551). วิธีวิทยาการวิจัย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศุภเจตน์ จันทร์สาส์น. (2556). การคอรัปชั่นและความเหลื่อมล้ำทางรายได้ในสังคม: การพิจารณาระหว่างประเทศ. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 19(3), 35-59.

ศุภเยาว์ นาคเงินทอง, พระมหาบุญเลิศ อินฺทปญฺโญ, และ อภินันท์ จันตะนี. (2561). การป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยกลไกพุทธบูรณาการ. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 267-277.

สมชาย ชูเมือง. (2563). การเสริมสร้างเครือข่ายการต่อต้านการทุจริตขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(2), 194-206.

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ. (2560). ยุทธศาสตร์ผนึกพลังประชารัฐ ขับเคลื่อนธรรมาภิบาลต่อต้านการทุจริต พ.ศ. 2560-2564. สืบค้นจาก https://www.pacc.go.th/pacc_website/ploads/files/strategy/motiv_60.pdf

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2559). ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ. 2560-2564). สืบค้นจาก https://www.nacc.go.th/files/article/attachments/20191120112711128.pdf

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2563). สถานการณ์การทุจริตประเทศไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. สืบค้นจาก http://www.oic. go.th/fileweb/cabinfocenter6/drawer041/general/data0000/00000681.pdf

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2565. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_dl_link.php?nid=6422