การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานบนเส้นทางแสวงบุญโดยบูรณาการกับหลักพุทธธรรมบำบัดเพื่อเสริมสร้างสุขภาวะและลดความซึมเศร้าของผู้สูงอายุที่อยู่เพียงลำพังในเขตท่องเที่ยวเมืองรองภาคเหนือตอนบน

Main Article Content

อุเทน ลาพิงค์
พระครูวินัยธร สัญชัย ญาณวีโร
เขมินทรา ตันธิกุล
ประดิษฐ์ คำมุงคุณ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมและความต้องการของผู้สูงอายุในการท่องเที่ยว  2) พัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานบนเส้นทางแสวงบุญโดยบูรณาการกับหลักพุทธธรรมบำบัด เป็นการวิจัยและพัฒนา พื้นที่วิจัยได้แก่  วัดในพื้นที่เขตท่องเที่ยวเมืองรอง จำนวน 10 แห่ง กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ จำนวน 700 คน และกลุ่มเป้าหมายที่เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 25 คน โดยใช้การคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม


ผลการวิจัยพบว่า 1) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุส่วนใหญ่เดินทางมายังสถานที่ท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาทุกปี ใช้เวลาท่องเที่ยวระหว่าง 3-5 วัน โดยมีความตั้งใจเดินทางมาวัดเพื่อทำบุญไหว้พระ กราบนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ พักผ่อนหย่อนใจ และปฏิบัติธรรม ส่วนความต้องการของผู้สูงอายุโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาจำแนกตามรายด้าน โดยเรียงลำดับจากด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุด ดังนี้ ด้านการปฏิบัติธรรม รองลงมาคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกและที่พัก ด้านการเข้าถึงและความปลอดภัย ด้านบุคลากรและการบริการ  ด้านกิจกรรมและการประชาสัมพันธ์ และด้านแหล่งท่องเที่ยวและสิ่งดึงดูดใจ ตามลำดับ 2) การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐาน ได้รูปแบบที่มีชื่อเรียกว่า “MFCAP Model” มีองค์ประกอบย่อยได้แก่ (1) M= Material (วัตถุธรรม) (2) F= Faith (ศรัทธาธรรม) (3) C= Custom and Culture (ประเพณีและศิลปวัฒนธรรม) (4) A= Activities and Meditation (กิจกรรมและการปฏิบัติธรรม) และ(5) P= Pilgrimage (จาริกบุญจาริกธรรม) 3) การประเมินความรู้ของกลุ่มเป้าหมายจากการอบรม พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีคะแนนการอบรมก่อนทดสอบอยู่ในระดับกลาง และหลังการอบรมอยู่ในระดับมาก จากการเปรียบเทียบผลการอบรมคะแนนก่อนและหลังการอบรมเฉลี่ยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และผลการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงศาสนาและวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการศาสนา. (2557). แนวทางการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเส้นทางแสวงบุญในมิติทางศาสนา ปี 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

กรวรรณ สังขกร, และ สุรีย์ บุญญานุพงศ์. (2558). การบริหารและการจัดการการท่องเที่ยวในภาคเหนือตอนบนเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว).

ทินกฤต รุ่งเมือง. (2558). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมเครือข่ายกิจกรรมการท่องเที่ยวของกลุ่มทวารวดี 4 จังหวัด. วารสารร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก, 33(1), 137-160.

นาวิน พรมใจสา. (2559). การพัฒนารูปแบบและกระบวนการจัดการท่องเที่ยวทางพระพุทธศาสนาในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(ฉบับพิเศษ), 353-364.

ประเสริฐ ใจสม. (2563). บุพปัจจัยของความยั่งยืนของการท่องเที่ยวเมืองรอง. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร., 8(1), 133-143.

วสุพาภรณ์ กันยะติ๊บ. (2560). หลักพุทธธรรมกับการสร้างเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ : กรณีศึกษาสถานปฏิบัติธรรมแห่งหนึ่ง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิวนิต อรรถวุฒิกุล, นรินทร์ สังข์รักษา, และ สมชาย ลักขณานุรักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยวเชิงศาสนาของจังหวัดราชบุรี. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10(2), 2309-2407.

สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2561). ร่วมสวดมนต์ข้ามปี 18 ล้านคน ททท.รุกหนักเที่ยวเชิงศาสนา. สืบค้นจาก https://www.dra.go.th/th/cmsdetail-17-19-1-2161.html

สำนักพัฒนาสุขภาพจิต. (2556). คู่มือความสุข 5 มิติสำหรับผู้สูงอายุ. นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สุกัลยา โหราเรือง. (2563). การศึกษาวิเคราะห์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงพุทธในล้านนา. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(3), 70-84.

หนึ่งหฤทัยรัตน์ กระจ่างพัฒน์วงษ์. (2561). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(2), 34-51.

Getzels, J.W., & Guba, E.G. (1957). Social behavior and administrative process. American Journal of Education, 65(4), 423–441.

Tourism Western Australia. (2008). Five A’s of Tourism. Retrieved from www.tourism.wa.gov.au/jumpstartguide/totb_5Asoftourism.html