การพัฒนาสมรรถนะของพระสังฆาธิการ เพื่อการบริหารจัดการวัดและชุมชนที่ดี กรณีศึกษา พระสังฆาธิการในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

พระครูมนูญบุญญากร ศรีบุญเป็ง
เฉลิมชัย ปัญญาดี
สมคิด แก้วทิพย์
พระฐาณี จองเจน

บทคัดย่อ

สมรรถนะของพระสังฆาธิการ มีความสำคัญต่อการพัฒนาวัด พัฒนาคน พัฒนาชุมชนเป็นอย่างมาก การพัฒนาสมรรถนะของพระสังฆาธิการจึงเป็นเงื่อนไขสำคัญและจำเป็น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาสมรรถนะของพระสังฆาธิการและประเมินผลการพัฒนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะของพระสังฆาธิการ และเพื่อถอดบทเรียนจากผลการพัฒนาสมรรถนะของพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการวัดและชุมชน จากประชากรที่เป็นพระสังฆาธิการในพื้นที่อำเภอแม่ริม จำนวนประมาณ 80 รูป ผู้วิจัยสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างมาจำนวน    5 รูปโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เมื่อกำหนดให้ความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 5 และความเชื่อมั่น


ร้อยละ 95  เก็บข้อมูลโดยการจัดทำหลักสูตรสมรรถนะของพระสังฆาธิการแล้วทำการอบรมสัมมนา จากนั้นทำการถอดบทเรียนจากการประเมินผลการพัฒนาสมรรถนะ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก การสัมภาษณ์กลุ่ม และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)


ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการวัดและชุมชน มีการจัดตามหมวดหมู่ตามพจนานุกรมสมรรถนะ (Competency Dictionary) ได้ดังนี้ คือ  1) ปริยัติ ได้แก่องค์ความรู้ ประกอบด้วยความรู้ในหลักการบริหารวัดและชุมชน ความรู้ในหลักธรรมะที่หนุนเสริมการทำงานของพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการวัดและชุมชน 2) ปฏิบัติ ได้แก่ ทักษะความสามารถของพระสังฆาธิการในการบริหารจัดการวัดและชุมชม ประกอบดัวยความสามารถในการสื่อสารถ่ายทอดธรรมะ ความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยี  ความสามารถในการประสานงาน 3) ปฏิเวธ  คือผลของการเรียนรู้ทั้งปริยัติและปฏิบัติรวมเป็น ลักษณะภายในของพระสังฆาธิการที่แสดงออกมาได้แก่ ความสามารถในการปรับตัว การวางตนที่เหมาะสมของพระสังฆาธิการ  สมรรถนะเหล่านี้มีส่วนผลักดันให้พระสงฆ์เป็นพระสังฆาธิการที่มีบทบาทเป็นเจ้าอาวาส สมรรถนะเหล่านี้ควรได้รับการพัฒนาในหมู่พระสงฆ์รุ่นใหม่ เพื่อให้เป็นพระสังฆาธิการที่เข้าใจและพร้อมที่จะทำงานบริหารจัดการวัดทั้งตามบทบาทหน้าที่ของพระสังฆาธิการ กระบวนการที่สำคัญคือการพัฒนาสมรรถนะพระสังฆาธิการผ่านกระบวนการทำงานหรือการจัดกิจกรรมชุมชน ที่เรียกว่าการเรียนรู้หรือการพัฒนาฝึกฝนโดยผ่านการปฏิบัติจริง


การถอดบทเรียนที่ได้จากการประเมินผลการการพัฒนาสมรรถนะของพระสังฆาธิการที่ได้รับการพัฒนาแล้ว พบว่า 1) พระสังฆาธิการมีความรู้ความเข้าใจในหลักการบริหารจัดการวัด ความรู้ในหลักพุทธธรรมะที่หนุนเสริมการทำงานของพระสังฆาธิการอยู่ในระดับก้าวหน้า สามารถนำหลักพุทธธรรมไปปรับประยุกต์ใช้และสื่อสารกับชุมชนได้เป็นอย่างดี 2) มีความสามารถในการสื่อสารเพื่อถ่ายทอดธรรมหลากหลาย มียุทธวิธี และมีการใช้ช่องทางสื่อสารเพิ่มขึ้น 3) มีความรู้และความสามารถในการใช้สื่อเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งมีทักษะในการใช้สื่อสารออนไลน์เข้ามาหนุนเสริมการทำงานบริหารจัดการวัดอย่างเป็นระบบ สามารถคิดวิเคราะห์ และสอนผู้อื่นได้ 4) มีความสามารถในการประสานงานโดยการใช้ระบบเครือข่ายทั้งออนไลน์ สถาบันองค์กรชุมชน และสถาบันการศึกษาได้ดีขึ้น  5) มีความสามารถในการปรับตัวซึ่งเป็นสมรรถนะที่พระสังฆาธิการตระหนัก และสามารถครองตน และปรับตัวให้กับเข้ากับชุมชน กับการทำงานผ่านสื่อเทคโนโลยีได้ในระดับก้าวหน้า จนเป็นที่ยอมรับ และ 6) มีความสามารถในการวางตนที่เหมาะสมอยู่ในระดับก้าวหน้า จนได้รับความเชื่อถือศรัทธาจากบุคคลในชุมชน ผู้ร่วมงาน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ และ กนกศักดิ์ แก้วเทพ. (2530). การพึ่งตนเองศักยภาพในการพัฒนาชนบท. ปทุมธานี: เจนเดอร์เพรส.

ชัยพร วิชชาวุธ. (2545). Competency-based Human Resource Management. ในสมาคมจิตวิทยา ประจำปีสมาคมจิตวิทยาแห่งประเทศไทย. กรุงเทพฯ: โฟโต้ ช็อป เอ็กช์เพรส.

ชัยวิชิต ชยาภินนฺโท. (2559). รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะของพระธรรมทูตไทยในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในทวีปยุโรป (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, เชียงใหม่.

ชาติชาย ณ เชียงใหม่. (2544). การบริหารการพัฒนาชนบทเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน. กรุงเทพฯ: บริษัทเวนจูรี่.

ปาริชาติ วลัยเสถียร. (2543). กระบวนการและเทคนิคการทำงานของนักพัฒนา. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2543). กระบวนการการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคนสู่ประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี–สฤษดิ์วงศ์.