ปัญหาเชิงนโยบายและการปฏิบัติในการถ่ายโอนอำนาจจัดการมูลฝอยติดเชื้อสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในช่วงการแพร่ระบาด ของไวรัสโคโรน่า 2019 จังหวัดลำพูน

Main Article Content

ชญาก์ทิพยฑ์ สุริยะพงฑากุล

บทคัดย่อ

การวิจัยปัญหาเชิงนโยบายและการปฏิบัติในการถ่ายโอนอำนาจจัดการมูลฝอยติดเชื้อสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 จังหวัดลำพูน มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษารูปแบบการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษาข้อจำกัดเชิงนโยบายและการปฏิบัติในการถ่ายโอนอำนาจจัดการมูลฝอยติดเชื้อสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในช่วงการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 จังหวัดลำพูน และ 3) เพื่อกำหนดข้อเสนอแนะในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดลำพูน


ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีอำนาจ ในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งต้องออกเทศบัญญัติเรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือเชิงนโยบาย โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีเทศบัญญัติเรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อ คือ เทศบาลตำบลเหมืองง่า เทศบาลตำบลต้นธง เทศบาลตำบลบ้านกลาง เทศบาลตำบลมะเขือแจ้ และมีอำเภอทุ่งหัวช้าง โดยทุกแห่งกำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต 10,000 บาท ยกเว้นเทศบาลเหมืองง่า ได้กำหนดค่าธรรมเนียมใบอนุญาต จำนวน 1,000 บาท จากการวิจัยไม่พบข้อจำกัดในระดับนโยบาย แต่พบข้อจำกัดในระดับปฏิบัติการในส่วนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังเกิดความเข้าใจผิดในขอบเขตการรับถ่ายโอนอำนาจขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากกระทรวงสาธารณสุขสู่กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหลายแห่งยังเข้าใจสับสน โดยเข้าใจว่าในการทำข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการมูลฝอยติดเชื้อระหว่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่สามารถกระทำได้ ซึ่งจากข้อเท็จจริงตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 ให้อำนาจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการจัดการมูลฝอยร่วมกันได้  ซึ่งเป็นประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้องต้องถ่ายทอดข้อเท็จจริงของนโยบายข้อนี้สู่ผู้ปฏิบัติการเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องและตรงกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมอนามัย. (2561). เอกสารวิชาการด้านการจัดการมูลฝอยติดเชื้อสําหรับเจ้าหน้าที่กรมอนามัย. กรุงเทพฯ: กรมอนามัย.

ณัฐณิชา อินทร์ติยะ, และ สุนันทา เลาวัณย์ศิริ. (2564). การเปรียบเทียบองค์ประกอบและอัตราการเกิดขยะติดเชื้อของโรงพยาบาลขนาดกลางและโรงพยาบาลขนาดใหญ่ กรณีศึกษาจังหวัดนครพนม. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา, 16(1), 14-27.

พระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. (2560, 14 มกราคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 134 ตอนที่ 5 ก, หน้า 6.

ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. (2545). กฎกระทรวงว่าด้วยการกำจัดมูลฝอยติดเชื้อ. เล่ม 119. ตอนที่ 86 ก, หน้า 6

ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา. (2560). ประกาศกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการจัดการมูลฝอยติดเชื้อ. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 267 ง, หน้า 4

ส่วนส่งเสริมการจัดการสิ่งแวดล้อม สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลําปาง. (2564). คู่มือสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น “การจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างครบวงจร”. ลำปาง: สํานักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 2 ลําปาง.

อภัสรา คำเหล็ก. (2559). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับการกำจัดขยะมูลฝอย. สืบค้นจากhttp://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/6124012646/1636085580571acf930006c03c23697432f999f353_abstract.pdf

อมลณัฐ ประสานพิมพ์. (2564). ปัญหาเชิงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการมูลฝอยขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สืบค้นจาก http://www.lawgrad.ru.ac.th/AbstractsFile/6324011661/1662007553981afc553edbdd34c90898a5bc97aedf_abstract.pdf

Cohen, J., & Uphoff, N. (1977) Rural Development Participation: Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. New York, NY: Cornel University