การศึกษาคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาชิกสภาเยาวชน อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการพัฒนาคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลของสมาชิกสภาเยาวชนอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณสมบัติการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี ซึ่งใช้กลุ่มตัวอย่างสมาชิกสภาเยาวชนอำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 150 คน โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ทั้งนี้ศึกษาปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อคุณสมบัติความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี จำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ 1) พฤติกรรมการทำตามกฎบนโลกดิจิทัล 2) พฤติกรรมการเคารพผู้อื่นบนโลกดิจิทัล 3) พฤติกรรมการมีส่วนร่วมบนโลกดิจิทัล และ 4) พฤติกรรมการรับผิดชอบบนโลกดิจิทัล โดยทำการวิเคราะห์ข้อมูล 2 ส่วน ได้แก่ 1) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปและข้อมูลความคิดเห็นในด้านพฤติกรรมและคุณสมบัติของพลเมืองดิจิทัล โดยใช้สถิติพรรณนา และส่วนที่ 2) การวิเคราะห์ความสัมพันธ์และปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณสมบัติความเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี ซึ่งใช้การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ (Pearson correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ตามลำดับ
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงช่วงอายุ 15 ถึง 17 ปี มีค่าใช้จ่ายต่อวันอยู่ในช่วง 30 ถึง 100 บาท ชอบใช้งานเครือข่ายสังคมเฟสบุ๊ค(Facebook) และเวลาในการใช้งานสูงสุดถึง 5 ชั่วโมง ทั้งนี้ใช้งานที่บ้านเป็นหลักโดยมีสามเหตุผลหลักที่เข้าใช้งาน ได้แก่ เพื่อติดต่อกับบุคคลที่รู้จัก หาข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูล และเล่นเกมส์ ตามลำดับในส่วนข้อมูลความคิดเห็นในด้านพฤติกรรมและคุณสมบัติของพลเมืองดิจิทัลโดยภาพรวมส่วนมากอยู่ในระดับความคิดเห็นปานกลางนอกจากนี้ผลการวิเคราะห์ในส่วนที่ 2 พบว่า ความสัมพันธ์ระหว่างความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Y) และพฤติกรรมการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี (X) ไม่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งนี้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบนำตัวแปรเข้าทั้งหมด (Enter multiple regression analysis) โดยปัจจัยที่มีผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ พฤติกรรมการรับผิดชอบบนโลกดิจิทัล
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล. (ม.ป.ป.). ความเป็นพลเมืองดิจิทัล: พลเมืองแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นจาก https://thaidigizen.com/digital-citizenship/ch1-digital-citizenship/
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2556). การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย (พิมพ์ครั้งที่14). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา เดชสม, และ รุ่งชัชดาพร เวหะชาต. (2564). การพัฒนาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักเรียนในศตวรรษที่ 21. วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, 31(1), 151-163.
ฐิตาภรณ์ จันทร์มณี, นันทิตา ดำโข่, และ ภัทรญาดา สุจริตธุระการ. (2562). ความเป็นพลเมืองดิจิทัล. สืบค้นจาก https://sites.google.com/site/digitalcitizens03718/about
พิมพ์ตะวัน จันทัน, มารุต พัฒผล, และ สิริวรรณ ศรีพหล. (2563). คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดิจิทัลของนิสิตระดับปริญญาตรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(12), 430-444.
พีรพิชญ์ คำเจริญ, และ วีรพงษ์ พลนิกรกิจ. (2561). เด็กกับการรู้เท่าทันดิจิทัล. วารสารวิชาการนวัตกรรมสื่อสารสังคม, 6(2), 22-31.
ลาวัลย์ นาคดิลก. (2561). แนวทางการพัฒนาพฤตินิสัยของเยาวชน. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 12(1), 163-172.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล.
Cooper, D. R., & Schindler, P. S. (2006). Business Research Methods (5th ed.). New York, NY: Tata McGraw-Hill.
Eukeik .ee. (2564). Internet User ในประเทศไทย 2564 ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตไทยมากแค่ไหนเมื่อเทียบกับโลก. สืบค้นจาก https://marketeeronline.co/archives/208372
Field, A. (2009). Discovering statistics using SPSS (3rd ed.). London: SAGE.
Newground. (2560). ข้อเสนอ “การพัฒนาคนรุ่นใหม่” บนความเข้าใจ “วัฒนธรรมเยาวชน”. สืบค้นจาก https://thaipublica.org/2017/11/newsground01/
Norman, E. (n.d.). As the paradigm shifts from citizen to digital citizen. Retrieved from http://www.digitalcitizen.com/t-r-i-p
Patton, M. Q. (1987). How to use qualitative method in evaluation. London: SAGE.
TeachThought Staff. (2020). 20 Examples of Digital Citizenship. Retrieved from https://www.teachthought.com/the-future-of-learning/examples-dig-citizenship/