กรอบโครงความคิดเชิงวิพากษ์: กรอบวิเคราะห์ใหม่ในการศึกษาขบวนการทางสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบวิเคราะห์ขบวนการทางสังคม ด้วยวิธีการศึกษาเชิงเอกสารจากตำรา บทความวิชาการและงานวิจัย จากนั้นจึงนำผลการศึกษามาวิเคราะห์และอธิบายด้วยวิธีการพรรณนา
ผลการศึกษา พบว่าทฤษฎีกรอบโครงความคิดของเดวิด สโนว์และแนวคิดอุดมการณ์ดั้งเดิม-จิตสำนึกเชิงวิพากษ์ของอันโตนิโอ กรัมชี่ สามารถนำมาใช้เป็นกรอบวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อศึกษาขบวนการทางสังคมในมิติเชิงอุดมการณ์ได้ ผู้เขียนเสนอให้ขยายหน้าที่การสร้างกรอบโครงความคิดหลัก ด้วยการสร้าง “กรอบโครงความคิดเชิงวิพากษ์” ซึ่งนอกจากจะทำให้รู้ว่าอุดมการณ์ดั้งเดิมใดเป็นรากฐานปัญหาและความทุกข์ร้อนที่เกิดขึ้นแล้ว ยังทำให้ขบวนการทางสังคมรู้ว่าจะประกอบสร้างอุดมการณ์ใดที่เพื่อกระตุ้นจิตสำนึกเชิงวิพากษ์ให้เกิดขึ้นกับมวลชนในสังคม การเปลี่ยนแปลงในระดับอุดมการณ์เป็นการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่มีความมั่นคงและยั่งยืน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กาญจนา แก้วเทพ. (2551). สายธารแห่งนักคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์การเมืองกับสื่อสารศึกษา. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.
เก่งกิจ กิตติเรียงลาภ. (2550). เก่งกิจ กิติเรียงลาภ : Hegemony โดยสังเขป และวาทกรรมของแนวชุมชน. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2007/02/11572
เก่งกิจ กิติเรียงลาภ, และ เควิน ฮิววิสัน. (2552). บทวิพากษ์ "การเมืองภาคประชาชน" ในประเทศไทย: ข้อจำกัดของเเนววิเคราะห์และยุทธศาสตร์การเมืองแบบ "ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่". สืบค้นจาก https://thaipoliticalprisoners.files.wordpress.com/2009/01/fadiewkan_20091.pdf
ประภาส ปิ่นตบเเต่ง. (2552). กรอบการวิเคราะห์การเมืองแบบทฤษฎีขบวนการทางสังคม. กรุงเทพฯ: มูลนิธิไฮน์ริค เบิลล์ สำนักงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้.
วัชรพล พุทธรักษา. (2559). กรัมชี่ การศึกษาและการเปลี่ยนแปลงทางสังคม. สืบค้นจาก https://www.researchgate.net/profile/Watcharabon-Buddharaksa/ publication/291357616_Gramsci_Education_and_Social_Transformation/links/56a2c60508aef91c8c0f15a6/Gramsci-Education-and-Social-Transformation.pdf
วัชรพล พุทธรักษา. (2563). บทสำรวจความคิดทางการเมืองของอันโตนิโอ กรัมชี่ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สมมติ.
เอกพลณัฐ ณัฐพัทธนันท์. (2556). พลวัตภายในแนวการวิเคราะห์ขบวนการทางสังคม. วารสารสังคมศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 43(1), 181-204.
Benford, R., & Snow, D. (2000). Framing processes and social movements: An overview and assessment. Annual Review of Sociology, 26(1), 611-639.
Martin, J. (2002). The political logic of discourse: a neo-Gramscian view. History of European Ideas, 28(1-2), 21-31.
Snow, D. A. (2004). Social movements as challenges to authority: Resistance to an emerging conceptual hegemony. Retrieved from https://www.emerald.com/insight/content/doi/10.1016/S0163-786X(04)25001-7/full/html
Snow, D. A., & Benford, R. D. (1988). Ideology, frame resonance, and participant mobilization. International Social Movement Research, 1(1), 197-217.
Snow, D. A., Rochford, E. B., Jr., Worden, S. K., & Benford, R. D. (1986). Frame alignment processes, micromobilization, and movement participation. American Sociological Review, 51(4), 464-481.
Snow, D. A., Vliegenthart, R., & Ketelaars, P. (2019). The framing perspective on social movements: Its conceptual roots and architecture. In D. A. Snow, S. A. Soule, H. Kriesi, and H. J. McCammon (Eds.), The Wiley Blackwell companion to social movements (2nd ed.). (pp. 392-410). Hoboken, NJ: Wiley Blackwell.