การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินแนวโน้มการแข่งขัน ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวภาคอีสาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลกระทบ 1) การมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้และการมุ่งเน้นการตลาด มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน 2) การมุ่งเน้นการเป็นผู้ประกอบการ การมุ่งเน้นการเรียนรู้ การมุ่งเน้นการตลาด ความได้เปรียบทางการแข่งขัน มีผลต่อประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ และ 3) วิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินแนวโน้มในการแข่งขัน จากการมีระบบการขนส่งสาธารณะรถไฟฟ้าความเร็วสูงในเมืองหลัก กลุ่มตัวอย่างข้อมูลเชิงปริมาณ คือผู้ประกอบการ ด้านสถานบันเทิง ธุรกิจรถเช่า ร้านอาหารและเครื่องดื่ม โรงแรมและที่พักใน 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานีและหนองคาย จำนวน 1,424 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน เครื่องมือเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เลือกตัวอย่างอย่างง่าย โดยแต่ละจังหวัดแต่ละธุรกิจสัมภาษณ์กลุ่มละ 10 คน รวมเป็นจำนวน 160 คน สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถของผู้ประกอบการ (ความแข็งแกร่งในการแข่งขัน ความเป็นอิสระ และการมุ่งเน้นการแข่งขันเชิงรุก) มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน 2) ความสามารถในการเรียนรู้ (การมุ่งเน้นนวัตกรรมการเรียนรู้ และความสามารถในการเรียนรู้ปรับตัว) มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน 3) ความสามารถทางการตลาด (ความสามารถด้านลูกค้า และความสามารถด้านคู่แข่ง) มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน 4) ความสามารถของผู้ประกอบการ (การยอมรับความเสี่ยง และความเป็นอิสระ) มีผลต่อประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ 5) ความสามารถในการเรียนรู้ (การมุ่งเน้นการดูดซับความรู้ และการมุ่งเน้นนวัตกรรมการเรียนรู้) มีผลต่อประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ 6) ความสามารถทางการตลาด (ความสามารถด้านลูกค้า และความสามารถในการประสานงานภายใน) มีผลต่อประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ 7) ความได้เปรียบทางการแข่งขัน (การตอบสนองอย่างรวดเร็ว การสร้างความแตกต่าง และการเป็นผู้นำด้านต้นทุน) มีผลต่อประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์ 8) ปัจจัยส่งผลต่อแนวโน้มประกอบด้วยการมุ่งเน้นการดูดซับความรู้ การมุ่งเน้นนวัตกรรมการเรียนรู้ ความสามารถด้านลูกค้า ความสามารถในการประสานงานภายใน การตอบสนองอย่างรวดเร็ว การสร้างความแตกต่าง การเป็นผู้นำด้านต้นทุน
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ลิขสิทธิ์
References
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2563). สถิติการท่องเที่ยวปี 2563. สืบค้นจาก https://most.go.th/more_newsnew.php?cid=592.
กัลยา วานิชย์บัญชา, และ ฐิตา วานิชย์บัญชา. (2564). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล (พิมพ์ครั้งที่ 34). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สามลดา.
กิรติพงษ์ ปัญญาเรือง. (2559). กลยุทธ์การได้เปรียบในการแข่งขันที่มีต่อผลความสำเร็จในการดำเนินงานตามแนวความคิด Balance Scorecard ของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแปรรูปอาหารของจังหวัดสุพรรณบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหา บัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
เกวลี แก่นจันดา. (2565). การมุ่งเน้นความเป็นผู้ประกอบการและการมุ่งเน้นการเรียนรู้ที่ส่งผลต่อความสามารถทางนวัตกรรมกับความได้เปรียบทางการแข่งขันของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 14(1), 71-85.
ไตรรงค์ สวัสดิกุล, และ นภาภรณ์ พลนิกรกิจ. (2562). ผลกระทบของเทคนิคการบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์ต่อผลการดำเนินงานของกิจการ. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 13(19), 43-58.
นันทิพร พงษ์ศิริยะกุล, นิติพงษ์ ส่งศรีโรจน์, และ สุวรรณ หวังเจริญเดช. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์การตลาดออนไลน์กับความสำเร็จขององค์กรของธุรกิจนำเที่ยวในประเทศไทย. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 12(1), 88-99.
นิตยา สุภาภรณ์. (2564). ความสามารถและความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบ การวิสาหกิจขนาดกลางและ ขนาดย่อม (SMEs) ในจังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการวิทยาลัยสันตพล, 14(2), 43-52.
เบญจพนธ์ มีเงิน. (2563). การพัฒนานวัตกรรมธุรกิจเพื่อความยั่งยืน: รูปแบบการพัฒนานวัตกรรมการให้บริการโลจิสติกส์ไทย. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, 5(7), 92-111.
พิมกาญดา จันดาหัวดง, พลอยพรรณ สอนสุวิทย์, และ สุจินดา เจียมศรีพงษ์. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการแข่งขันของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) อุตสาหกรรมการผลิตในจังหวัดกําแพงเพชร. วารสารวิทยาการจัดการสมัยใหม่, 13(1), 1-20.
เพ็ญสุข เกตุมณี, วรลักษณ์ ลลิตศศิวิมล, สิริลักษณ์ ทองพูน, และ กอแก้ว จันทร์กิ่งทอง. (2561). ความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในยุค Thailand 4.0. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 37(4), 245-256.
ภุชงค์ สถิรพิพัฒน์กุล. (2564). กลยุทธ์การปรับตัวต่อผลกระทบจากโควิด-19 ของบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2563. สาระศาสตร์, 4(2), 451-464.
วณิศญดา วาจิรัมย์, ณัฏฐ์วัฒน์ ภควันฉัตร, และ กฤติยา อิศวเรศตระกูล. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการขนส่งสินค้าบนถนนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(2), 145-154.
วรดิศ ธนภัทร, และ วิชิต อู่อ้น. (2562). การสร้างแบบจำลองความได้เปรียบทางการแข่งขันของโรง แรมขนาดเล็กในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(2), 465-475.
วสุธิดา นักเกษม, และ ประสพชัย พสุนนท์. (2561). ปัจจัยที่มีส่งผลต่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจบริการในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร สาขามนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(1), 2148-2167.
วัลย์จรรยา วิระกุล. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของเกษตรกรแปลงใหญ่ข้าวจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการและวิจัย มหาวิทยาลัยภาคตะวันออก เฉียงเหนือ, 11(2), 197-211.
ศตพร วัฒนาวัตถุ, และ แหลมทอง เหล่าคงถาวร. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความก้าวร้าวในการแข่งขันของผู้รับเหมาขนาดเล็กและขนาดกลางที่ก่อสร้างบ้านพักอาศัยในกรุงเทพมหานคร. วิศวสารลาดกระบัง, 38(1), 34-43.
ศิวกร อโนรีย์. (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน และความสำเร็จของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในเขตจังหวัดราชบุรี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
สถาพร โอภาสานนท์. (2563). การจัดการโลจิสติกส์ในช่วงวิกฤตโรคระบาด. สืบค้นจาก https://www.tbs.tu.ac.th/wp-content/uploads/2020/04/การจัดการโลจิสติกส์ในช่วงวิกฤตโรคระบาด.pdf
สิริศักดิ์ พลสิมมา, และ เกศรา สุกเพชร. (2563) ความสัมพันธ์ของคุณลักษณะความเป็นผู้ประกอบการต่อผลของการดำเนินกิจการของธุรกิจการให้บริการเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 14(3), 146-161.
สุภาวดี ธงภักดิ์, และ สันติธร ภูริภักดี. (2564). แนวทางการปรับเปลี่ยนและพัฒนาการบริการของร้านอาหารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม “ร้านอาหารยามเย็น กรุงเทพมหา นคร” ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19. วารสารศิลปะศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 4(2), 761-772.
เสาวณี จันทะพงษ์, และ เจริญชัย เอกมาไพศาล. (2564). ผลกระทบและการปรับตัว (Resilience) ของผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและร้านอาหารช่วงโควิด-19: วิเคราะห์จากหลักคิด Outside-In. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/ ResearchAndPublications/articles/Pages/Article_26Oct2021.aspx.
หงษ์ฟ้า ทรัพย์บุญเรือง, และ จินตวัฒน์ ศิริรัตน์. (2563). โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน: โอกาส ของการพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารไทยคดีศึกษา, 17(2), 50-80.
อรจิรา ธนรัช. (2564). กรณีศึกษาบริษัทโลจิสติกส์ในไทยกับการปรับตัวในวิกฤตโควิด (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล, กรุงเทพฯ.
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice Hall.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607–610.
Marshall, B., Cardon, P., Poddar, A., & Fontenot, R. (2013). Does sample size matter in qualitative research? A review of qualitative interviews in is research. Journal of Computer Information Systems, 54, 11-12.