ต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา

Main Article Content

ศดานนท์ วัตตธรรม
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
พรชัย ลิขิตธรรมโรจน์
ธีรพร ทองขะโชค

บทคัดย่อ

งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ค้นหาศักยภาพที่นำไปสู่การสร้างต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง 2) ออกแบบต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง และ 3) ประเมินต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเก็บข้อมูลจากผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองเขารูปช้าง จำนวน 6 คน และเครือข่ายคณะทำงาน จำนวน 9 หน่วยงาน ใช้แบบสอบถามเก็บข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 389 คน ใช้แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการเก็บข้อมูลจากผู้สูงอายุในพื้นที่ จำนวน 33 คน และใช้แบบประเมินเก็บข้อมูลจากนักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ศักยภาพที่นำไปสู่การสร้างต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ได้แก่ นโยบายด้านคุณภาพชีวิตของผู้บริหารมีความชัดเจน รวมทั้งได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาคีเครือข่ายที่เข้มแข็งและมีความเชี่ยวชาญที่แตกต่างกันไปในการจัดกิจกรรมให้ผู้สูงอายุ ในขณะที่ยังมีข้อจำกัดทางด้านการจัดสรรงบประมาณยังไม่ครอบคลุม ขาดระบบเทคโนโลยีของเมือง และขาดระบบและกลไกในการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดการหรือแก้ปัญหาให้ผู้สูงอายุทุกระดับ 2) ต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ได้แก่ การปรับปรุงที่อยู่อาศัยไปจนถึงถนนหนทาง และสวนสาธารณะ การจ้างงานและอบรมอาชีพ การจัดกิจกรรมทางสังคมให้ครอบคลุมทุกกลุ่มวัย และการตรวจสุขภาพผู้สูงอายุทั่วทั้งพื้นที่ ซึ่งดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการ และ 3) ประเมินต้นแบบการจัดการเมืองผู้สูงอายุเทศบาลเมืองเขารูปช้าง พบว่า เหมาะสมทุกด้าน โดยสามารถนำผลที่เกิดขึ้นไปกำหนดเป็นแนวทางการจัดการเมืองผู้สูงอายุให้กับผู้บริหารท้องถิ่นอย่างเหมาะสม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลชนก ภูมิชาติ, ปรีชา สามัคคี, และ ลัญจกร นิลกาญจน์. (2561). รูปแบบชุมชนต้นแบบที่เป็นมิตรกับผู้สูงอายุ. อินทนิลทักษิณสาร, 13(1), 115-131.

กรมกิจการผู้สูงอายุ. (2561). ยุทธศาสตร์กรมกิจการผู้สูงอายุ 20 ปี ประจำปี พ.ศ. 2561-2580. กรุงเทพฯ: สามลดา.

ขวัญชนก ทองปาน. (2559). การศึกษาโอกาสและอุปสรรคในการพัฒนาเมืองที่เป็นมิตรต่อผู้สูงวัย: ศึกษาเปรียบเทียบจังหวัดนครศรีธรรมราช สงขลา และสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา.

ณัชพล บดิการ. (2559). ศักยภาพของเทศบาลตำบลปากแพรก (อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี) ในการดูแลผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ณัฏฐ์ฐิตตา เทวาเลิศสกุล, วณิฎา ศิริวรสกุล, และ ชัชสรัญ รอดยิ้ม. (2559). แนวทางการพัฒนาผู้สูงอายุจากภาระให้เป็นพลัง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 9(1), 529-545.

ดวงกมล ภูนวล, พัชรินทร์ สิรสุนทร, เสรี พงศ์พิศ, และ ศุภสิทธิ์ พรรณนารุโณทัย. (2557). การพัฒนารูปแบบเมืองผู้สูงอายุอยู่สบาย. วารสารสุขศึกษา, 37(126), 82-101.

เทศบาลเมืองเขารูปช้าง. (2564). สถิติประชากรพื้นที่ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา. [เอกสารอัดสำเนา]. สงขลา: เทศบาลเมืองเขารูปช้าง.

วีระศักดิ์ เครือเทพ. (2550). เครือข่าย: นวัตกรรมการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ซีโน ดีไซน์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง (พ.ศ. 2560 - 2564). กรุงเทพฯ: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์, วิรัตน์ ธรรมาภรณ์, ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี, และ ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์. (2559). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 9(1), 121-127.

สุรศักดิ์ ชะมารัมย์. (2562). ประเด็นร่วมสมัยทางนโยบายสาธารณะและการจัดการภาครัฐ. กรุงเทพฯ: โฟร์เพซ.

Duch, A. I., Berrone, P., & Richart, J. E. (2017). Ageing in the city: Can metropolises contribute to better senior living?. Retrieved from https://blog.iese.edu/cities-challenges-and-management/2017/10/25/ ageing-in-the-city-can-metropolises-contribute-to-better-senior-living/

Lee, R. (2004). Quantifying our Ignorance: Stochastic Forecasts of Population and Public Budgets. Retrieved from https://escholarship.org/content/qt5mn0r8gk/qt5mn0r8gk_noSplash_3ddcd7d70d5c4f1f4062ffb6feb4fa80.pdf

Mumford, L. (1961). The City in History: Its Origins, its Transformations, and its Prospects. London: Penguin Book.

Novak, M. (2012). Issues in Aging. (3rd ed.). New York, NY: Pearson.

Pramitasari, D. & Sarwadi, A. (2015). A study on elderly’s going out activities and environment facilities. Procedia Environmental Sciences, 28(2015), 315-323.

Rupavijetra, P., Chompikul, J., & Rupavijetra, P. (2016). Management of aging society in Kobe, Japan. Journal of Public Health and Development, 14(2), 61-75.

Shafritz, J. M., Russell, E. W., & Borick, C. P. (2009). Introducing Public Administration. (6th ed.). New York, NY: Pearson.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3rd ed.). New York, NY: Harper and Row.