หลักการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นผู้สูงอายุ ด้วยหลักแห่งภาวนา 4

Main Article Content

โกมินทร์ วังอ่อน
ชาญชัย ฤทธิร่วม
ปรัชญาณินทร์ วงศ์อทิติกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศิลปะการดำรงชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงราย และวิเคราะห์หลักการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นผู้สูงอายุด้วยหลักแห่งภาวนา 4 ประการ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุ รวมจำนวน 66 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 70-79 ปี ในพื้นที่ 11 ชุมชนวัดในจังหวัดเชียงราย การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุในจังหวัดเชียงรายที่ให้ข้อมูล เป็นเพศหญิงมากว่าเพศชายแต่สัดส่วนไม่ต่างกันมากนัก เป็นผู้มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและทำกิจกรรมทางศาสนาเป็นเนื่องนิตย์ ชื่นชอบการทำงานเพื่อสังคม ประกอบอาชีพหรือธุรกิจส่วนตัวของครอบครัว และการเกษตรกรรมในชุมชนนอกเมือง


หลักการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการเป็นผู้สูงอายุด้วยหลักแห่งภาวนา 4 สำหรับ   ผู้อยู่ในวัยทำงาน ผู้ที่กำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นผู้สูงอายุ สามารถเลือกใช้หรือประยุกต์ใช้ตาม    จริตชอบที่เอื้อต่อการพัฒนาวิธีคิดและพฤติกรรมเชิงบวกของตนในการใช้ชีวิตและการทำงาน ได้แก่ 1) หลักแห่งกายภาวนา คือ ความไม่ประมาทในตนจะทำให้เป็นผู้ไม่ไปในทางที่เสื่อม 2) หลักแห่งศีลภาวนา คือ การสร้างแรงยึดเหนี่ยวทางสังคม และการใช้ชีวิตที่ไม่เสื่อมถอยจะนำความปกติสุขมาสู่ชีวิตได้ 3) หลักแห่งจิตตภาวนา คือ การได้แนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องจากผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามหลักการศาสนา การมีความเพียรพยายามชอบจะสามารถลดได้ซึ่งความทุกข์ และเพิ่มความสุขแก่ตนเองได้ และ 4) หลักแห่งปัญญาภาวนา คือ การมีสติและปัญญาเป็นเครื่องกำกับและพิจารณา การบ่มเพาะ “วิชชา” อันเป็นทางสู่พฤติกรรมแห่งความดีในการใช้ชีวิตและการทำงาน ดังกล่าวนี้เป็นแนวปฏิบัติความสุขที่มีคุณค่าต่อชีวิตของมนุษย์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัชฎาภรณ์ อยู่เย็นเป็นสุข. (2562). การศึกษาพุทธปรัชญาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต, 15(1), 155-166.

ดวงเดือน ศาสตรภัทร. (2564). สูงวัยอย่างมีคุณภาพชีวิตและเป็นสุข. บทย่อความประกอบการบรรยายในประชุมของคณะกรรมการศึกษาและพัฒนาความรู้ทางจิตวิทยาและสังคม ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตยสภา.

ธรรมะไทย. (2565ก). มงคลที่ 2 การคบบัณฑิต. สืบค้นจาก http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem02.php

ธรรมะไทย. (2565ข). มงคลที่ 29 การได้เห็นสมณะ. สืบค้นจาก http://www.dhammathai.org/treatment/poem/poem29.php

นวินดา นิลวรรณ, สิทธิโชค ปาณะศรี, และ พระครูโกศลอรรถกิจ. (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ตามแนวพระพุทธศาสนาเถรวาทสู่สังคมผู้สูงอายุ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(3), 38-39.

ประยูร เจนตระกูลโรจน์. (2562). ผู้สูงอายุ : ดูแลอย่างไรให้แก่อย่างมีคุณค่า ชราอย่างมีคุณภาพ. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรม, 2(2), 44-54.

พระกองสี ญาณธโร (พรมโพธิ์). (2560). ศึกษาวิเคราะห์การดำเนินชีวิตตามหลักภาวนา 4 ในพระพุทธศาสนา. วารสาร มจร. อุบลปริทัศน์, 2(3), 88-102.

พระครูสุทธิวรญาณ นิธิมงคลชัย, อาษา ศรีประวัติ, และ ถาวร โคตรชัย. (2565). ภาวนา 4 : หลักธรรมะเพื่อการพัฒนาองค์กรให้คนเก่งคิดและเก่งทำ. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9(6), 67-75.

พระครูโสภณรัตนบัณฑิต, และ พระครูวุฒิสาครธรรม. (2563). พุทธปรัชญาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(5), 21-33.

พระปลัดธัญวัฒน์ อโสโก (รักษ์เพ็ชร). (2563). การประยุกต์ใช้หลักภาวนา 4 ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านบ่อเกตุ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 7(2), 35-46.

อาจ เมธารักษ์, พระมหาดนัยพัชร์ คัมภีรปัญโญ (ยุนิรัมย์), และ อุเทน ลาพิงค์. (2564). พุทธวิธีการดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขของผู้สูงอายุ. วารสารปรัชญาอาศรม, 3(1), 40-51.

Lifestyle for my live. (2562). ปรัชญาในการดำเนินชีวิตคืออะไรกันนะ?. สืบค้นจาก https://www.lifestyle-forum.org/ปรัชญาในการดำเนินชีวิต/#page-content