ผลกระทบของโรคระบาดโควิด 19 และการปรับตัวของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Main Article Content

ปรารถนา หลีกภัย
ปิ่นฤทัย นิวัตตระกูล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาการปรับตัวของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ    การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างจำนวน 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน คือ t-test และ F-test หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจะทำการทดสอบด้วยการวิเคราะห์เปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธีการของเชฟเฟ่


ผลการวิจัยพบว่า ผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 ในภาพรวมของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อยู่ในระดับปานกลาง ผลจากการเปรียบเทียบผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 ของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ผู้ประกอบการร้านค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ ที่มีอายุและประเภทของสินค้าที่จำหน่ายแตกต่างกัน ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด 19 แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 การปรับตัวของผู้ประกอบการร้านค้าปลีกธงฟ้าประชารัฐ โดยเรียงลำดับจากความถี่มากไปน้อย ได้แก่ การเพิ่มชนิดของสินค้าให้หลากหลายมากขึ้น การเพิ่มรายได้จากอาชีพอื่น การลดรายจ่ายของกิจการ การเพิ่มช่องทางการขายสินค้า การขอความช่วยเหลือจากเครือญาติ การกู้ยืมจากสถาบันการเงิน การขายทรัพย์สิน และการจำนำ/จำนองทรัพย์สิน ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์ กรมการค้าภายใน. (2565). เกี่ยวกับธงฟ้า. สืบค้นจาก https://thongfah.dit.go.th/AboutUI.aspx

เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นติ้ง.

โณธิตา หวานชื่น, วรุตม์ นาที, และ ศุภรัตน์ พิณสุวรรณ, (2564). ผลกระทบโควิด 19 และการปรับตัวของผู้ประกอบการค้าขายในตลาดเก็นติ้ง บริเวณพื้นที่ชายแดน ตําบลสุไหงโก-ลก อําเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส. สืบค้นจาก http://www2.huso.tsu.ac.th/ncom/GEOGIS2021/FULL_PAPER/PDF20211024215536_1__.pdf

ธีรภัทร เจริญฤทธิ์, และ นฤภร ไชยสุขทักษิณ. (2564). การปรับตัวของผู้ประกอบการในสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีศึกษาตลาดกิมหยง อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. สืบค้นจาก

http://www2.huso.tsu.ac.th/ncom/csd/csdful_pdf/c219.pdf

วริศ มีไชโย. (2563). ผลกระทบของโควิด-19 ต่อธุรกิจค้าปลีกภายในจังหวัดตาก. สืบค้นจาก http://www.ba-abstract.ru.ac.th/index.php/abstractData/viewIndex/853.ru

สมชาย หาญหิรัญ. (2563). วิสาหกิจชุมชน เปลี่ยน เพื่ออยู่. สืบค้นจาก

https://www.thansettakij.com/content/columnist/429519

อาชนัน เกาะไพบูลย์, และ เพ็ชรธรินทร์ วงศ์เจริญ. (2563). การปรับตัวของผู้ประกอบการท่ามกลาง COVID-19: บทวิเคราะห์ข้อมูล Survey. สืบค้นจาก https://waymagazine.org/covid-policy-brief-3.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3), 607-610.