ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรมกรณีศึกษา สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน)

Main Article Content

นิสรา ใจซื่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม กรณีศึกษา สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) 2) เพื่อศึกษาถึงแนวทางการพัฒนาองค์การแห่งนวัตกรรม กรณีศึกษา สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ในการศึกษาวิจัยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสม คือการวิจัยเชิงปริมาณ(Quantitative Research) โดยประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ บุคลากรที่สังกัดในสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จำนวน 215 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 144 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้รับแบบสอบถามตอบกลับมาทั้งสิ้น 132 คน และใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างกับบุคลากรของสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติการถดถอยพหุคูณ


ผลการศึกษาวิจัย พบว่า 1) การเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย คือ ด้านกระบวนการพัฒนานวัตกรรมขององค์การด้านผลลัพธ์นวัตกรรมขององค์การ ด้านการพัฒนานวัตกรขององค์การ และด้านความสามารถในการสร้างนวัตกรรมขององค์การ 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งนวัตกรรม กรณีศึกษา สถาบันวิจัยแสงซินโคร ตรอน (องค์การมหาชน) ได้แก่ ปัจจัยด้านการมุ่งเน้นลูกค้า ปัจจัยด้านการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์การ และปัจจัยด้านการบริหารเครือข่ายนวัตกรรมขององค์การ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 ซึ่งสอดคล้องกับผลการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) 3) แนวทางการพัฒนาองค์การแห่งนวัตกรรม กรณีศึกษา สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้แก่ การบริหารความสามารถในการสร้างนวัตกรรมขององค์การ เช่น การพัฒนากระบวนการทำงานใหม่ๆ  ด้านผลลัพธ์นวัตกรรมขององค์การ เช่น องค์การอาจพิจารณาด้านความสามารถสร้างรายได้ที่เพิ่มขึ้น หรือมีค่าใช้จ่ายที่ลดลงที่เชื่อมโยงจากผลงานด้าน การพัฒนานวัตกรรมขององค์การ และด้านการพัฒนานวัตกรขององค์การ องค์การอาจพิจารณาการดำเนินกิจกรรมที่หลากหลายขององค์การเพื่อส่งเสริมจูงใจให้บุคลากรพัฒนาผลงานด้านนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกวรรณ ภู่ไหม. (2559). การศึกษาปัจจัยสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมองค์กร บริบทธนาคารพาณิชย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิด และกระบวนการ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรฑิตา อังกินันทน์. (2560). แนวทางการพัฒนาองค์การประเภทธุรกิจธนาคารสู่องค์การแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พัชสิรี ชมภูคำ. (2552). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พยัต วุฒิรงค์. (2562). การจัดการนวัตกรรม จากแนวคิดสู่การปฏิบัติที่เป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรธรรม พงษ์สีชมพู. (2555). อิทธิพลของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรรัฐวิสาหกิจที่มีต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้และองค์กรแห่งนวัตกรรม (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

วัฒนชัย ศิริญาณ. (2560). รูปแบบที่ส่งเสริมให้เกิดองค์การแห่งนวัตกรรมของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน). (2560). ข่าวสำคัญ. สืบค้นจาก https://www.slri.or.th/th/slrinews.html

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน). (2560). นโยบาย วิสัยทัศน์ พันธกิจ. สืบค้นจาก https://www.slri.or.th/th/aboutus/slri-performancereport/policy-vision-mission.html

สุชาติ ไตรภพสกุล, และ ชาคริต พิชญางกูร. (2564). การจัดการนวัตกรรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 – 2564. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_news.php?nid=6420&filename=develop_issue

Dess, G., McNamara, G., Eisner, A., & Lee, S. H. (2019). Strategic management (9th ed.). New York, NY: McGraw-Hill Education.

Maital, S. & Seshadri, D. V. R. (2012). Innovation management: strategies, concepts and tools for growth and profit (2nd ed.). New Delhi: SAGE.

Yamane, T. (1973). Statistics: an introductory analysis (3rd ed.). New York, NY: Harper & Row.